วันพฤหัสบดีที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2559

ข้อสอบใบขับขี่รถยนต์









ข้อสอบใบขับขี่รถยนต์





เข้าไปดูโปรไฟล์ Facebook ของฉัน

 
 
นาย ขุนศึก ต้องการแชร์รูปภาพและอัพเดตกับคุณ
 
 
 
นาย ส่งคำเชิญให้คุณใช้ Facebook หลังจากคุณลงทะเบียนแล้ว คุณจะสามารถติดต่อกับเพื่อนๆ โดยการแชร์รูปภาพและวิดีโอ โพสต์อัพเดตสถานะ ส่งข้อความ และอื่นๆ ได้
 

วันจันทร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

การขอเปลี่ยนชนิด หรือประเภทใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถ


1หลักฐานประกอบคำขอ
ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอเช่นเดียวกับการขอรับใบอนุญาตใหม่ พร้อมด้วยใบอนุญาตฉบับเดิมหรือใบแทน
กรณีใบอนุญาตฉบับเดิมสูญหาย ให้นำหลักฐานการรับแจ้งความจากสถานีตำรวจมาเป็นหลักฐาน

2
ขั้นตอนการดำเนินการ
2.1 กรณีขอเปลี่ยนชนิดของใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถให้สูงขึ้นกว่าเดิม
(1) ต้องเข้ารับการศึกษาและทดสอบข้อเขียนเฉพาะวิชาที่ยังขาด ให้ครบตามหลักสูตรการศึกษาที่กำหนดไว้
(2) เข้ารับการทดสอบขับรถตามชนิดของใบอนุญาตที่ขอเปลี่ยน
2.2 กรณีขอเปลี่ยนประเภทของใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถ จากส่วนบุคคลเป็นทุกประเภท จะต้องตรวจสอบประวัติก่อนว่าไม่เคยได้รับโทษจำคุก หรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายให้จำคุก เว้นแต่โทษสำหรับความผิดอันได้กระทำโดยประมาท ที่มิใช่เกี่ยวกับการใช้รถในการกระทำความผิด หรือความผิดลหุโทษหรือได้พ้นโทษมาแล้วเกินสามปี
2.3 กรณีขอเปลี่ยนชนิดของใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถให้สูงขึ้นกว่าเดิม พร้อมทั้งขอเปลี่ยนประเภทของใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถ จากส่วนบุคคลเป็นทุกประเภท ต้องดำเนินการตามข้อ 2.1 และ 2.2
หมายเหตุ ปัจจุบันกรมการขนส่งทางบก ได้อำนวยความสะดวกในการให้บริการประชาชน ในการดำเนินการเกี่ยวกับใบอนุญาตเป็นผู้ประจำรถ ซึ่งการดำเนินการดังกล่าว สามารถดำเนินการได้ดังนี้
1. การออกใบอนุญาต
2. การต่ออายุใบอนุญาต
3. การเปลี่ยนชนิด หรือเปลี่ยนประเภทใบอนุญาต
4. การแก้ไขรายการในใบอนุญาต
5. การออกใบแทนใบอนุญาต

การขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถ


1หลักฐานประกอบคำขอ
1.1 ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนหรือภาพถ่ายใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว หรือภาพถ่ายหนังสือเดินทาง หรือภาพถ่ายหนังสือสำคัญประจำตัวอย่างอื่น
1.2 สำเนาหรือภาพถ่ายทะเบียนบ้าน (กรณีที่อยู่ไม่ตรงกับที่อยู่ในทะเบียนราษฎร์) หรือเอกสารแสดงถิ่นที่อยู่
1.3 รูปถ่ายครึ่งตัว หน้าตรง ไม่สวมหมวกและแว่นตาดำ ขนาด 1 นิ้ว ซึ่งถ่ายไว้ไม่เกิน 6 เดือน จำนวน 2 รูป ในกรณีการขอใบอนุญาตแบบกระดาษ ส่วยการขอใบอนุญาตแบบพลาสติกไม่ต้องใช้
1.4 ใบรับรองแพทย์ ออกก่อนวันยื่นคำขอไม่เกิน 1 เดือน

2
ขั้นตอนการดำเนินการ
2.1 เข้ารับการทดสอบสมรรถภาพของร่างกาย ดังต่อไปนี้
(1) ทดสอบปฏิกิริยา
(2) ทดสอบสายตา
2.2 เข้ารับการศึกษาอบรม ดังต่อไปนี้
(1) ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก และกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ 30 นาที 
(2) ความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการขับรถอย่างปลอดภัย 30 นาที 
(3) ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก กฎหมายแพ่งและกฎหมายอาญา 30 นาที 
(4) ความรู้เกี่ยวกับหน้าที่ผู้ขับรถและการบำรุงรักษารถ 30 นาที 
(5) ความรู้เกี่ยวกับมนุษยสัมพันธ์และมารยาทในการขับรถ 30 นาที 
(6) ความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพพลานามัย 30 นาที 
(7) หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ขับรถ 30 นาที 
(8) หัวใจของการบริการทางการขนส่ง 30 นาที 
(9) การตรวจความพร้อมของรถก่อนและหลังการใช้งาน 30 นาที 
(10) ความรู้เกี่ยวกับการขับรถลากจูง และการขับรถลากจูงอย่างปลอดภัย 30 นาที
(11) ความรู้เกี่ยวกับวัตถุอันตราย (เฉพาะใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถ ชนิดที่ 4) 6 ชั่วโมง 
(12) ความรู้เกี่ยวกับรถบรรทุกวัตถุอันตราย และความรู้เกี่ยวกับหลักการบรรทุกวัตถุอันตราย 6 ชั่วโมง
2.3 เข้ารับการทดสอบข้อเขียน ดังนี้
(1) ผู้ขอรับใบอนุญาตชนิดที่ 1 หรือชนิดที่ 2 สอบข้อเขียนจำนวน 60 - 45 ข้อ
(2) ผู้ขอรับใบอนุญาตชนิดที่ 3 สอบข้อเขียนจำนวน 30 ข้อ
(3) ผู้ขอรับใบอนุญาตชนิดที่ 4 ทดสอบข้อเขียนเช่นเดียวกับ (2) และสอบข้อเขียนวิชาความรู้ เกี่ยวกับวัตถุอันตรายเพิ่มอีก จำนวน 30 ข้อ ผู้รับการทดสอบจะต้องได้คะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 จึงจะถือว่าผ่านการทดสอบ
2.4 เข้ารับการทดสอบขับรถ ดังนี้
(1) ผู้ขอรับใบอนุญาตชนิดที่ 1 หรือชนิดที่ 2 สอบขับรถตามชนิดใบอนุญาต
(2) ผู้ขอรับใบอนุญาตชนิดที่ 3 และชนิดที่ 4 สอบขับรถลากจูง พร้อมรถพ่วง หรือรถกึ่งพ่วง โดยทำการทดสอบขับรถ ไม่น้อยกว่า 3 ท่า ใน 6 ท่า ดังต่อไปนี้
ท่าที่ 1 การเดินหน้าและหยุดรถเทียบทางเท้า
ท่าที่ 2 การขับรถเดินหน้าและถอยหลังในทางตรง
ท่าที่ 3 การขับรถถอยหลังเข้าจอดและออกจากช่องว่างด้านซ้าย
ท่าที่ 4 การหยุดรถและออกรถบนทางลาด
ท่าที่ 5 การกลับรถ
ท่าที่ 6 การขับรถเดินหน้าเข้าจอดในช่องที่เป็นมุมฉาก
2.5 เมื่อผู้ขอรับใบอนุญาตผ่านการทดสอบสมรรถภาพร่างกาย ทดสอบข้อเขียนและทดสอบขับรถแล้ว
(1) สำหรับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถ ประเภทส่วนบุคคล ชำระค่าธรรมเนียมและรับใบอนุญาตได้
(2) สำหรับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถ ประเภททุกประเภท ทางราชการจะทำการตรวจสอบ ประวัติอาชญากรว่า ไม่เป็นผู้เคยได้รับโทษจำคุกหรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย ให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดอันได้กระทำโดยประมาทที่มิใช่เกี่ยวกับการใช้รถในการกระทำความผิด หรือเป็นความผิดลหุโทษหรือได้พ้นโทษมาแล้วเกินสามปี จึงจะชำระค่าธรรมเนียม และรับใบอนุญาตได้

ประเภทใบขับขี่ และค่าธรรมเนียมใบขับขี่ประเภทต่างๆ

ประเภทใบขับขี่ เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่ต้องรู้สำหรับผู้ที่ต้องการสอบใบขับขี่ เนื่องจากใบขับขี่แต่ละประเภทนั้น จะอนุญาตให้สามารถขับขี่รถได้เพียงแค่ที่ระบุไว้ในใบขับขี่ ซึ่งหมายความว่า ถ้าขับขี่รถที่ไม่ได้ระบุหรือไม่ได้อนุญาตให้ขับขี่ ก็จะถือว่าเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย ดังนั้นหากต้องการทำใบขับขี่ ก็ต้องรู้ก่อนว่าใบขับขี่ที่ทำนั้น มีขอบข่ายหรืออนุญาตให้ขับขี่รถประเภทไหนได้บ้าง

ประเภทใบขับขี่

ประเภทใบขับขี่

ใบขับขี่นั้นถูกแบ่งออกตามลักษณะของการใช้เป็น 2 ประเภทหลักๆ คือ 1) ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถประเภทส่วนบุคคล และ 2) ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถประเภททุกประเภท ซึ่งทั้ง 2 ประเภท มีสิ่งที่เหมือนและแตกต่างกันอยู่พอสมควรดังนี้
  1. ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถประเภทส่วนบุคคล อนุญาตให้สามารถขับขี่เพื่อขนส่งส่วนบุคคล หรือใช้เพื่อโดยสารส่วนตัว และยังสามารถขับขี่ขนส่งเพื่อการค้าหรือธุรกิจส่วนตัวได้ด้วย โดยในการขนส่งนั้นจะถูกจำกัดน้ำหนักอยู่ที่ 1,600 กิโลกรัม และต้องเป็นการขนส่งที่ไม่ใช่การรับจ้างด้วย
  2. ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถประเภททุกประเภท ใบอนุญาตประเภทนี้จะอนุญาตให้สามารถขับขี่เพื่อขนส่งได้ทุกประเภท กล่าวคือ จะสามารถใช้เพื่อรับจ้างหรือประกอบธุรกิจการขนส่งได้ อาทิ การขนส่งคน การขนส่งสิ่งของ เป็นต้น
สำหรับสิ่งที่เหมือนและแตกต่างกันของใบขับขี่ทั้ง 2 ประเภท ก็คือ ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถประเภททุกประเภท สามารถใช้ขับขี่เพื่อขนส่งส่วนบุคคลหรือรับจ้างก็ได้ ส่วนใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถประเภทส่วนบุคคล จะไม่สามารถใช้ขับขี่เพื่อการรับจ้างได้

ค่าธรรมเนียมใบขับขี่

จากหัวข้อที่กล่าวก่อนหน้านี้ เป็นการแบ่งประเภทใบขับขี่ตามลักษณะการใช้งานออกเป็น 2 ประเภท แต่ใบขับขี่ที่ใช้จริงก็ยังถูกแบ่งออกเป็นชนิดต่างๆ ตามลักษณะการใช้และลักษณะของรถอีกด้วย ซึ่งในหัวข้อนี้จะขอกล่าวโดยรวมเกี่ยวกับชนิดและค่าธรรมเนียมใบขับขี่ไปพร้อมๆ กันเลย ซึ่งแบ่งใบขับขี่ออกเป็น 11 ชนิด ดังตาราง


ชนิดของใบขับขี่อายุ (ปี)อัตราค่าธรรมเนียม (บาท)
1ใบอนุญาตขับรถชนิดชั่วคราว
- ใบอนุญาตขับรถยนต์ชั่วคราว
- ใบอนุญาตขับรถยนต์สามล้อชั่วคราว
- ใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลชั่วคราว
2100
50
50
2ใบอนุญาตขับรถยนต์ส่วนบุคคล5500
3ใบอนุญาตขับรถยนต์สามล้อส่วนบุคคล5250
4ใบอนุญาตขับรถยนต์สาธารณะ3300
5ใบอนุญาตขับรถยนต์สามล้อสาธารณะ3150
6ใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล5250
7ใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์สาธารณะ3150
8ใบอนุญาตขับรถบดถนน5250
9ใบอนุญาตขับรถแทร็คเตอร์5250
10ใบอนุญาตขับรถชนิดอื่นๆ นอกจากข้อ 1-95100
11ใบอนุญาตขับรถตามความตกลงระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นภาคี (ใบอนุญาตขับรถระหว่างประเทศ)1500

หมายเหตุ : ดังตารางด้านบนจะเห็นได้ว่า ประเภทใบขับขี่ ไม่ได้มีแค่เฉพาะรถยนต์เท่านั้นและค่าธรรมเนียมใบขับขี่แต่ละประเภทก็แตกต่างกันไป

ที่มา http://drivepermit.blogspot.com/2015/12/type-of-driver-license.html 

คุณสมบัติของผู้ขอรับใบอนุญาตปฎิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ

1. มีสัญชาติไทย
2. มีความรู้ความสามารถตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
3. ไม่เป็นผู้มีร่างกายพิการจนเป็นที่เห็นได้ว่า ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ด้วยความเหมาะสม
4. ไม่เป็นผู้วิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
5. ไม่เป็นผู้มีโรคติดต่ออันเป็นที่รังเกียจ
6. ไม่เป็นผู้ติดสุรายาเมาหรือยาเสพย์ติดให้โทษ
7. ไม่เป็นผู้มีใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถประเภท หรือชนิดเดียวกันกับที่ได้รับอนุญาตอยู่แล้ว
8. ไม่เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ ประจำรถเว้นแต่การเพิกถอนใบอนุญาตนั้นพ้นกำหนดสามปีแล้ว นับแต่วันที่มีคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
9. ไม่เป็นผู้เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดหรือคำสั่งที่ชอบด้วย กฎหมายให้จำคุก เว้นแต่โทษ สำหรับความผิดอันได้กระทำโดยประมาทที่มิใช่เกี่ยวกับการใช้รถในการกระทำผิดหรือเป็นความผิดลหุโทษหรือได้พ้นโทษมาแล้วเกินสามปี
10. ไม่เป็นผู้เคยถูกควบคุมตัวเพราะมีพฤติการณ์เป็นภัยต่อสังคมหรือเป็นอันธพาล เว้นแต่ได้พ้นจากการควบคุมตัวมาแล้วเกินหนึ่งปี

ที่มา http://amnatcharoen.dlt.go.th/web/index.php?option=com_content&view=article&id=106&Itemid=157

การดำเนินการเกี่ยวกับใบอนุญาตผู้ประจำรถตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.2522


ใบอนุญาตผู้ประจำรถ แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่
1. ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถ
2. ใบอนุญาตเป็นผู้เก็บค่าโดยสาร
3. ใบอนุญาตเป็นนายตรวจ
4. ใบอนุญาตเป็นผู้บริการ

ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถ ใบอนุญาตเป็นนายตรวจ และใบอนุญาตเป็นผู้บริการ ใช้เป็นใบอนุญาตเป็นผู้เก็บค่าโดยสารได้

ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถ แบ่งออกเป็น 4 ชนิด และ 2 ประเภท ดังนี้
ชนิดที่ 1 ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถสำหรับขับรถบรรทุกที่น้ำหนักรถ และน้ำหนักบรรทุกรวมกันไม่เกินสามพันห้าร้อยกิโลกรัม หรือสำหรับขับรถโดยสาร ที่ใช้ขนส่งผู้โดยสารไม่เกินยี่สิบคน
ชนิดที่ 2 ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถสำหรับขับรถบรรทุกที่มีน้ำหนักรถ และน้ำหนักบรรทุกรวมกันเกินกว่าสามพันห้าร้อย กิโลกรัม หรือสำหรับขับรถโดยสารที่ใช้ขนส่งผู้โดยสารเกินกว่ายี่สิบคน
ชนิดที่ 3 ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถสำหรับขับรถบรรทุกหรือรถโดยสาร ซึ่งโดยสภาพใช้สำหรับลากจูงรถอื่น หรือล้อเลื่อน ที่บรรทุกสิ่งใด ๆ บนล้อเลื่อนนั้น
ชนิดที่ 4 ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถสำหรับขับรถที่ใช้ขนส่งวัตถุอันตรายตามประเภทหรือชนิด และลักษณะการบรรทุก ตามที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ใบอนุญาตขับรถชนิดที่สอง ชนิดที่สาม และชนิดที่สี่ ใช้เป็นใบอนุญาตขับรถชนิดที่หนึ่งได้

ใบอนุญาตขับรถชนิดที่สาม และชนิดที่สี่ ใช้เป็นใบอนุญาตขับรถชนิดที่หนึ่งและชนิดที่สองได้

ใบอนุญาตขับรถชนิดที่สี่ ใช้เป็นใบอนุญาตขับรถชนิดที่หนึ่ง ชนิดที่สอง และชนิดที่สามได้

ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถแต่ละชนิด แบ่งตามประเภทการขนส่งของรถออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
ประเภทส่วนบุคคล สำหรับขับรถที่ใช้ในการขนส่งส่วนบุคคล (รถที่มีแผ่นป้ายทะเบียนรถพื้นสีขาว ตัวเลขและตัวอักษรสีดำ)
ประเภททุกประเภท สำหรับขับรถได้ทุกประเภทการขนส่ง (รถที่มีแผ่นป้ายทะเบียนรถพื้น
สีขาว ตัวเลข และตัวอักษรสีดำ และรถที่มีแผ่นป้ายทะเบียนรถพื้นสีเหลือง ตัวเลขและตัวอักษรสีดำ)

***ข้อควรจำ***
ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถทุกประเภท ตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก สามารถใช้แทนใบอนุญาตขับรถยนต์ส่วนบุคคลละใบอนุญาตขับรถสาธารณะตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ได้ ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถส่วนบุคคล ตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก สามารถใช้แทนใบอนุญาตขับรถยนต์ส่วนบุคคล ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ได้

อายุของผู้ขอรับใบอนุญาตผู้ประจำรถ
1. ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถ
ส่วนบุคคล ชนิดที่ 1 ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี
ส่วนบุคคล ชนิดที่ 2 และชนิดที่ 3 ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปี
ส่วนบุคคล ชนิดที่ 4 ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปี
ทุกประเภท ชนิดที่ 1 ชนิดที่ 2 และชนิดที่ 3 ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 22 ปี
ทุกประเภท ชนิดที่ 4 ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปี
2. ใบอนุญาตเป็นผู้เก็บค่าโดยสาร ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี
3. ใบอนุญาตเป็นนายตรวจ ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปี
4. ใบอนุญาตเป็นผู้บริการ ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 15


ที่มา http://amnatcharoen.dlt.go.th/web/index.php?option=com_content&view=article&id=106&Itemid=157  

วันอาทิตย์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2559

เครื่องหมายนี้ หมายความอย่างไร




1. เครื่องหมายนี้ หมายความอย่างไร

ก. ทางโทแยกทางเอกเยื้องกัน เริ่มขวา
ข. ทางเอกตัดกันรูปตัววาย
ค. ทางเอกตัดกันรูปตัวที
ง. ทางเอกตัดทางโทรูปตัววาย


2. ภายหลังออกรถไปประมาณ 3 ถึง. 4 เมตร ควรทดสอบระบบใด
ก. เบรก
ข. ปรับกระจกมองหลัง
ค. ปรับกระจกมองข้าง
ง. ไฟเลี้ยว


3. ถ้าขณะขับรถเกิดยางแตกหรือยางระเบิดควรปฏิบัติเช่นไร
ก. เหยียบคลัตช์ให้เร็วแล้วตามด้วยเบรก
ข. เหยียบเบรกโดยเร็ว
ค. จับพวงมาลัยให้มั่น แล้วค่อยๆ เบรกและนำรถเข้าข้างทาง
ง. เหยียบคลัตช์อย่างเดียว


Ref : http://www.thaitestonline.com

การเปลี่ยนช่องทางจราจร




1. การเปลี่ยนช่องทางจราจร ควรปฏิบัติอย่างไร
ก. เปลี่ยนช่องจราจรเมื่อใดก็ได้
ข. มองกระจกข้าง.ให้สัญญาณแล้วเปลี่ยนช่องจราจรเมื่อเห็นว่าปลอดภัย
ค. เปลี่ยนช่องจราจรโดยเร็วเพื่อหลบรถคันอื่น
ง. ให้สัญญาณมือและสัญญาณไฟแล้วเปลี่ยนช่องจราจรได้เลย


2. ขณะขับรถไปได้ระยะหนึ่งปรากฏว่าไฟเตือนสีแดง.แสดงเกิดจากสาเหตุใด
ก. ไดชาร์ทชำรุด
ข. แบตเตอรี่เสีย
ค. แบตเตอรี่ใกล้หมดอายุ
ง. น้ำกลั่นแห้ง


3. เมื่อพบเครื่องหมายนี้ ผู้ขับขี่ควรปฏิบัติอย่างไร

ก. ให้ผู้ขับขี่ขับรถอย่างรวดเร็ว เส้นให้ไปได้ทันที
ข. ให้ผู้ขับขี่ ขับรถให้ช้าลง.แล้ว แซงได้
ค. ให้หยุดรถก่อนถึงแนวเส้นขวางทุกครั้ง
ง. ให้ผู้ขับขี่ชะลอความเร็วลง.และรีบเร่งเครื่องไปก่อน


Ref : http://www.thaitestonline.com

วันอังคารที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2559

ข้อสอบใบขับขี่จริง หมวด กฎหมายว่าด้วยจราจรทางบก

2 ) ข้อสอบใบขับขี่จริง หมวด กฎหมายว่าด้วยจราจรทางบก 52 ข้อดังนี้

2.1 การขับรถผ่านทางร่วมทางแยกต้องปฏิบัติอย่างไร
ก.ปฏิบัติตามสัญญาณไฟจราจรหรือกฎจราจรอย่างเคร่งครัด
ข.เมื่อพบป้ายเตือนทางร่วมทางแยกให้ขับรถด้วยความเร็วปกติ
ค.หากไม่มีสัญญาณไฟจราจร ให้รถคันที่ใหญ่กว่าผ่านทางร่วมทางแยกไปก่อน
ง.เมื่อพบป้ายเตือนสัญญาณไฟบริเวณทางร่วมทางแยกให้ขับรถไปตามปกติ

2.2 ผู้ขับขี่ต้องการเลี้ยวรถต้องปฏิบัติอย่างไร
ก.ชะลอรถและเปิดไฟเลี้ยวก่อนถึงทางเลี้ยวไม่น้อยกว่า 30 เมตร
ข.เปิดไฟเลี้ยวก่อนถึงทางเลี้ยว 20 เมตร
ค.หยุดรถเพื่อเตรียมตัวเลี้ยว
ง.เร่งความเร็วก่อนเลี้ยว

2.3 การหยุดรถบริเวณทางแยกผู้ขับขี่ต้องปฏิบัติอย่างไร
ก.ยุดทับเส้นแนวหยุด
ข.หยุดหลังเส้นแนวหยุด
ค.หยุดเลยเส้นแนวหยุด
ง.หยุดเลยป้ายหยุด

2.4 บริเวณใดห้ามแซง
ก.ทางตรง
ข.ทางที่ปลอดภัย
ค.ทางโล่ง
ง.ทางโค้งรัศมีแคบ

2.5การจอดรถต้องจอดให้ห่างจากขอบทางไม่เกินกี่เซนติเมตร
ก.ห่างไม่เกิน 35 เซนติเมตร
ข.ห่างไม่เกิน 30 เซนติเมตร
ค.ห่างไม่เกิน 25 เซนติเมตร
ง.ห่างไม่เกิน 40 เซนติเมตร

2.6 การขับรถแซงรถคันหน้าต้องแซงด้านขวามือ ยกเว้นกรณีใดที่สามารถแซงด้านซ้ายมือได้
ก.เมื่อรถที่จะถูกแซงกำลังเลี้ยวขวา หรือให้สัญญาณว่าจะเลี้ยวขวา
ข.แซงรถคันอื่นทางด้านซ้ายในทางเดินรถช่องทางเดียว
ค.แซงรถคันอื่นในช่องทางขวาของรถที่ถูกแซง
ง.แซงรถคันอื่นทางด้านซ้ายขณะรถวิ่งบนสะพาน

2.7 รถในข้อใดที่สามารถนำมาใช้ในทางได้
ก.รถที่ไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียนของทางราชการกำหนด
ข.รถที่จดทะเบียนและเสียภาษีแล้ว
ค.รถที่ขาดต่อภาษี
ง.รถที่แจ้งเลิกใช้ตลอดไป

2.8 รถในข้อใด ห้ามนำมาใช้ในทาง
ก.รถที่มีสภาพไม่มั่นคงแข็งแรง
ข.รถที่ติดแผ่นป้ายทะเบียนของทางราชการกำหนด
ค.รถที่จดทะเบียนและเสียภาษีแล้ว
ง.รถที่อุปกรณ์ส่วนควบครบถ้วน

2.9 เขตปลอดภัย หมายความว่าอย่างไร
ก.พื้นที่มีเครื่องหมายแสดงไว้ให้ผู้ขับขี่เห็นว่าปลอดภัยขับต่อไปได้
ข. เขตที่ผู้ขับขี่สามารถนำรถผ่านเข้าไปได้
ค. พื้นที่ในทางเดินรถที่มีเครื่องหมายแสดงไว้ให้เห็นได้ชัดเจนทุกเวลาสำหรับให้คนเดินเท้าที่ข้ามทางหยุดรอ หรือให้คนที่ขึ้นหรือลงจากรถหยุดรอก่อนจะข้ามทางต่อไป
ง.เขตที่คนเดินเท้าสามารถข้ามทางได้โดยไม่ต้องหยุดรอ

2.10 รถในข้อใดที่สามารถนำมาใช้ในทางเดินรถได้
ก.รถที่มีเสียงดังกว่าเกณฑ์ที่ทางราชการกำหนด
ข. รถที่มีสิ่งลากถูไปบนทางเดินรถ
ค. รถที่มีล้อไม่ใช่ยาง
ง.รถที่มีเสียงเครื่องยนต์ดังในระดับ 80 เดซิเบล

2.11 สัญญาณจราจรไฟสีแดงที่ทำเป็นรูปกากบาทเฉียงอยู่เหนือช่องเดินรถ ห้ามมิให้ผู้ขับขี่ขับรถอย่างไร
ก.จอดรถในช่องเดินรถนั้น
ข. หยุดและจอดรถในช่องเดินรถนั้น
ค. ขับรถในช่องเดินรถนั้น
ง.หยุดรถในช่องเดินรถนั้น

2.12เมื่อพนักงานจราจรยืนและเหยียดแขนซ้ายออกไปเสมอระดับไหล่ ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถมาจากทางด้านไหนของพนักงานจราจรจะต้องหยุดรถ

ก.ด้านข้าง
ข. ด้านหน้าและด้านหลัง
ค. ด้านหลัง
ง.ด้านหน้า

2.13 เมื่อพนักงานจราจรยืนและเหยียดแขนขวาท่อนล่างตั้งฉากกับแขนท่อนบนและตั้งฝ่ามือขึ้น ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถมาจากทางด้านไหนของพนักงานจราจรจะต้องหยุดรถ

ก.ด้านหลัง
ข.ด้านหน้าและด้านหลัง
ค.ด้านหน้า
ง.ด้านข้างและด้านหลัง

2.14 การขับรถผ่านทางร่วมทางแยกที่มีสัญญาณจราจรไฟกระพริบสีแดง.ผู้ขับขี่ต้องปฏิบัติอย่างไร
ก.หยุดรถหลังเส้นให้รถหยุด เมื่อเห็นว่าปลอดภัยและไม่เป็นการกีดขวางการจราจรจึงให้ขับรถต่อไปด้วยความระมัดระวัง
ข. ลดความเร็วของรถลงและผ่านทางเดินรถนั้นไปด้วยความระมัดระวัง
ค. จอดรถด้วยความระมัดระวัง
ง.เพิ่มความเร็วของรถและผ่านทางเดินรถนั้นไปโดยเร็ว

2.15 การขับรถผ่านทางร่วมทางแยกที่มีสัญญาณจราจรไฟกระพริบสีเหลือง.ผู้ขับขี่ต้องปฏิบัติอย่างไร
ก.ลดความเร็วของรถลงและผ่านทางเดินรถนั้นไปด้วยความระมัดระวัง
ข. หยุดรถหลังเส้นให้รถหยุด เมื่อเห็นว่าปลอดภัยและไม่เป็นการกีดขวางการจราจรจึงขับรถต่อไปด้วยความระมัดระวัง
ค.จอดรถ
ง.เพิ่มความเร็วของรถและผ่านทางเดินรถนั้นไปโดยเร็ว

2.16 ผู้ขับขี่ต้องขับรถในทางเดินรถด้านซ้าย ยกเว้นกรณีใดสามารถเดินรถทางขวาหรือ ล้ำกึ่งกลางของทางเดินรถได้
ก.ไม่มีรถสวนทางมา
ข. ทางเดินรถกว้างมาก
ค.ด้านซ้ายของทางเดินรถมีสิ่งกีดขวาง
ง.ทางเดินรถมีน้ำท่วมขัง

2.17 การให้สัญญาณด้วยแขน โดยผู้ขับขี่ยื่นแขนขวาตรงออกไปนอกตัวรถเสมอระดับไหล่และโบกมือขึ้นลงหลายครั้ง.หมายถึงผู้ขับขี่นั้นต้องการอะไร

ก.หยุดรถ
ข.เลี้ยวขวา
ค.จะลดความเร็วของรถ
ง.จอดรถ

2.18 ผู้ขับขี่ต้องขับรถให้ห่างจากรถคันหน้าเท่าไร
ก.ในระยะที่จะสามารถหยุดรถได้โดยปลอดภัยเมื่อมีความจำเป็น
ข.ไม่น้อยกว่า 2 เมตร
ค.ไม่น้อยกว่า 1 เมตร
ง.ไม่น้อยกว่า 3 เมตร

2.19 ผู้ขับขี่ต้องการจะเลี้ยวซ้ายต้องขับรถในช่องเดินรถด้านซ้ายก่อนถึงทางเลี้ยวกี่เมตร
ก.ไม่น้อยกว่า 15 เมตร
ข.ไม่น้อยกว่า 20 เมตร
ค.ไม่น้อยกว่า 25 เมตร
ง.ไม่น้อยกว่า 30 เมตร

2.20 ผู้ขับขี่ต้องเปิดไฟหน้าหรือไฟท้ายรถ ให้รถคันอื่นเห็นได้ในระยะไม่น้อยกว่าเท่าใด
ก.150 เมตร
ข.100 เมตร
ค.60 เมตร
ง.120 เมตร

2.21 ในการขับรถสวนทางกัน ผู้ขับขี่ต้องปฏิบัติอย่างไร
ก.แซงเข้าไปในช่องเดินรถประจำทางได้
ข.ให้ขับรถชิดด้านซ้าย
ค.ในทางที่มีสิ่งกีดขวางอยู่ข้างหน้าไม่ต้องหยุดรอให้รถที่สวนมาผ่านไปได้
ง.ในทางแคบที่ไม่อาจสวนกันได้ ผู้ขับรถคันที่เล็กกว่า ต้องหยุดชิดด้านซ้ายให้รถคันที่ใหญ่กว่าไปก่อน

2.22 ห้ามมิให้ผู้ขับขี่รถแซงเพื่อขึ้นหน้ารถคันอื่นขณะที่มีหมอก.ฝุ่น ฝน หรือควัน จนไม่อาจเห็นทางข้างหน้าได้ในระยะ เท่าใด
ก.60 เมตร
ข.90 เมตร
ค.70 เมตร
ง.80 เมตร

2.23 บริเวณใดห้ามขับรถแซงรถคันอื่น
ก.ทางโค้งรัศมีแคบ
ข.ในกรณีที่ทางเดินรถด้านซ้ายมีสิ่งกีดขวาง
ค.150 เมตร จากทางร่วมทางแยก
ง.แซงด้านซ้ายในขณะที่มีรถรอเลี้ยวขวา

2.24 บริเวณใดสามารถกลับรถได้
ก.ทางเดินรถที่มีเครื่องหมายห้ามกลับรถ
ข.บริเวณบนสะพาน
ค.ระยะ 150 เมตร จากทางราบของเชิงสะพาน
ง.เขตปลอดภัย

2.25เมื่อผู้ขับขี่พบเครื่องหมาย "เลี้ยวซ้ายผ่านตลอด" ผู้ขับขี่ควรปฏิบัติอย่างไร?
ก.ลดความเร็วของรถลงและเลี้ยวซ้ายผ่านไปได้ทันที
ข.หยุดรอจนกว่าจะได้รับสัญญาณไฟเขียวจึงเลี้ยวซ้ายไปได้
ค.หยุดรอให้คนข้ามถนนและรถที่มาจากทางด้านขวามือขับผ่านไปก่อนแล้วจึงเลี้ยวซ้ายผ่านไป
ง.เลี้ยวซ้ายผ่านไปได้ทันที

2.26 ผู้ใดไม่มีหน้าที่ให้สัญญาณจราจรตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก.พ.ศ.2522
ก.ผู้ขับขี่รถยนต์
ข.พนักงานจราจร
ค.ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์
ง.คนเดินเท้า

2.27 ผู้ขับขี่ปฏิบัติตามข้อใดไม่ถูกต้อง
ก.ลดความเร็วเมื่อถึงวงเวียน
ข.ลดความเร็วเมื่อถึงที่คับขัน
ค.จอดรถบริเวณทางร่วมทางแยก
ง.ลดความเร็วเมื่อเห็นคนกำลังข้ามทาง

2.28 บริเวณใดแซงได้
ก.ทางร่วมทางแยก
ข.สะพานเดินรถทางเดียว
ค.ทางโค้งรัศมีแคบ
ง.บนพื้นทางที่มีเครื่องหมายจราจรให้แซงได้

2.29 เมื่อจะเปลี่ยนช่องทางหรือแซงรถทุกครั้งต้องปฏิบัติอย่างไร
ก.รีบเปลี่ยนช่องทางโดยเร็ว
ข.ต้องให้สัญญาณไฟหรือสัญญาณแตร
ค.แซงขึ้นหน้าแล้วเหยียบเบรกทันที
ง.รีบเร่งเครื่องแซงโดยเร็ว

2.30 บริเวณใดจอดรถได้
ก.ที่มีป้ายห้ามหยุดรถ
ข.ในอุโมงค์
ค.ทางร่วมทางแยก
ง.ลานจอดรถในห้างสรรพสินค้า

2.31 การขับรถตามข้อใดปฏิบัติได้ถูกต้อง
ก.ขับรถลักษณะผิดปกติวิสัย
ข.แซงรถในอุโมงค์
ค.ขับรถในลักษณะกีดขวางการจราจร
ง.ขับรถเร็วไม่เกินอัตราที่กฎหมายกำหนด

2.32 เมื่อถึงทางรถไฟและมีรถไฟกำลังแล่นผ่าน ผู้ขับขี่ต้องปฏิบัติอย่างไร
ก.หยุดรถให้ห่างจากทางรถไฟไม่น้อยกว่า 5 เมตร
ข.ขับรถผ่านไปโดยเร็ว
ค.ให้เสียงสัญญาณแตรเตือนและขับผ่านไปได้
ง.หยุดรอสัญญาณไฟและเปิดไฟฉุกเฉิน

2.33 บริเวณใดใช้สัญญาณเสียงแตรได้
ก.โรงเรียน
ข.สถานที่ราชการ
ค.สวนสาธารณะ
ง.โรงพยาบาล

2.34 เมื่อเกิดอุบัติเหตุผู้ขับขี่หลบหนีจะมีผลอย่างไร
ก.ไม่มีผล เพราะไม่ใช่ฝ่ายผิด
ข.ให้สันนิษฐานว่าผู้นั้นเป็นผู้กระทำผิด
ค.มีผลให้เป็นฝ่ายถูก
ง.จะได้รับการกันไว้เป็นพยาน

2.35 สัญญาณเสียงแตรใช้ได้เมื่อใด
ก.ใช้ได้เมื่อรถคันหน้าขับช้า
ข.ใช้ได้ตามสะดวก
ค.ใช้ตลอดเวลา
ง.ใช้ได้เมื่อจำเป็นเพื่อป้องกันอุบัติเหตุ

2.36 ขณะขับขี่รถต้องเว้นระยะห่างรถคันหน้าเท่าใด
ก.ในระยะที่ปลอดภัย
ข.13 เมตร
ค.50 เมตร
ง.3 ช่วงตัวรถ

2.37 ก่อนเลี้ยวรถต้องเข้าช่องทางที่จะเลี้ยวและเปิดไฟเลี้ยวก่อนเลี้ยวรถไม่น้อยกว่ากี่เมตร
ก.3 เมตร
ข.30 เมตร
ค.10 เมตร
ง.15 เมตร

2.38 ผู้ขับรถที่ดื่มสุราเมื่อวัดระดับแอลกอฮอล์ในลมหายใจจะต้องไม่เกินเท่าใด
ก.ไม่เกิน 60 มิลลิกรัมเปอร์เซ็น
ข.ไม่เกิน 70 มิลลิกรัมเปอร์เซ็น
ค.ไม่เกิน 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็น
ง.ไม่เกิน 80 มิลลิกรัมเปอร์เซ็น

2.39 ขณะขับรถตรวจพบแอลกอฮอล์ในร่างกายเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดมีโทษอย่างไร
ก.จำคุกไม่เกิน 3 เดือนหรือปรับตั้งแต่ 1,000 ถึง.50,000 บาท
ข.จำคุกไม่เกิน 1 ปีหรือปรับตั้งแต่ 5,000 ถึง.20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ค.ปรับไม่เกิน 5,000 บาท
ง.ปรับไม่เกิน 10,000 บาท

2.40 ในเขตกรุงเทพ เขตเมืองพัทยา หรือเขตเทศบาล ต้องขับรถด้วยความเร็วเท่าไร
ก.ไม่เกิน 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ข.ไม่เกิน 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ค.ไม่เกิน 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ง.ไม่เกิน 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

2.41 นอกเขตกรุงเทพ เขตเมืองพัทยา หรือเขตเทศบาล ต้องขับรถด้วยความเร็วเท่าไร
ก.ไม่เกิน 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ข.ไม่เกิน 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ค.ไม่เกิน 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ง.ไม่เกิน 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

2.42 ในการให้สัญญาณไฟเลี้ยว จะต้องให้ผู้ขับรถคันอื่นเห็นได้ในระยะเท่าไร
ก.ไม่น้อยกว่า 10 เมตร
ข.ไม่น้อยกว่า 15 เมตร
ค.ไม่น้อยกว่า 60 เมตร
ง.ไม่น้อยกว่า 30 เมตร

2.43 ผู้ขับขี่ซึ่งจะเลี้ยวรถจะต้องให้สัญญาณมืออย่างไร
ก.ให้สัญญาณมือด้วยมือซ้ายเท่านั้น
ข.ให้สัญญาณมือได้ทั้งมือซ้ายและมือขวา
ค.ไม่ต้องให้สัญญาณมือใด ๆ ทั้งสิ้น
ง.ให้สัญญาณมือด้วยมือขวาเท่านั้น

2.44 บริเวณทางร่วมทางแยกและมีเครื่องหมายห้ามกลับรถแต่เจ้าพนักงานจราจรอนุญาตให้กลับรถได้ผู้ขับขี่ ต้องปฏิบัติอย่างไร
ก.กลับรถได้
ข.กลับรถได้ถ้าไม่มีเครื่องหมายห้ามกลับรถ
ค.กลับรถไม่ได้
ง.กลับรถได้ถ้าไม่ใช่ทางร่วมทางแยก

2.45 ผู้ขับขี่ต้องการกลับรถต้องปฏิบัติอย่างไร
ก.ขับรถช่องทางไหนก็ได้
ข.ดูป้ายจราจรที่อนุญาตให้กลับรถและเข้าช่องทางให้ถูกต้อง
ค.เข้าช่องทางที่มีลุกศรบนพื้นถนนให้ตรงไป
ง.กลับรถที่บริเวณเส้นทะแยงเหลือง

2.46 ข้อใดปฏิบัติถูกต้อง
ก.รถจักรยานยนต์ต้องขับในช่องเดินรถด้านซ้ายสุด
ข.รถบรรทุกคนโดยสารต้องขับในช่องเดินรถด้านขวาสุด
ค.รถบรรทุกสิ่งของต้องขับในช่องเดินรถด้านขวาสุด
ง.การเปลี่ยนช่องเดินรถไปทางด้านขวาหรือซ้ายไม่ต้องดูกระจกด้านซ้ายหรือขวา

2.47ในช่องทางเดินรถตั้งแต่สองช่องทางขึ้นไปในทิศทางเดียวกัน ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ ต้องปฏิบัติอย่างไร
ก.ต้องขับรถชิดด้านขวาสุด
ข.ต้องขับรถชิดด้านซ้ายสุด
ค.ต้องขับรถคล่อมเส้นแบ่งช่องทางเดินรถ
ง.ต้องขับรถอยู่ในช่องทางที่ให้ขับตรงไป

2.48 ผู้ใดได้รับยกเว้นไม่ต้องสวมหมวกนิรภัยขณะโดยสารรถจักรยานยนต์
ก.ภิกษุ สามเณร
ข.คนโดยสาร
ค.เด็ก
ง.คนขับรถ

2.49 ข้อใดเปิดไฟฉุกเฉินได้ถูกต้อง
ก.รถเสียหรือรถเกิดอุบัติเหตุ
ข.เปิดได้ตลอดเวลา
ค.มีหมอก
ง.ผ่านทางแยก

2.50ในการบรรทุกสิ่งของ.ผู้ขับขี่ต้องปฏิบัติอย่างไร
ก.บรรทุกได้กว้างกว่าความกว้างของตัวรถข้างละ 1 เมตร
ข.บรรทุกยื่นพ้นตัวรถด้านหลังไม่เกิน 2.50 เมตร
ค.บรรทุกสูงโดยวัดจากสิ่งของที่บรรทุกได้เกิน 5 เมตร
ง.บรรทุกยื่นพ้นตัวรถด้านหน้าไม่เกิน 2.50 เมตร

2.51 การลากจูงรถที่ไม่สามารถใช้พวงมาลัยหรือเบรกได้ควรทำอย่างไร
ก.ใช้คนดันไป
ข.ใช้รถดันไป
ค.ใช้สายพ่วงลากจูงไป
ง.ใช้วิธีการยกหน้าหรือยกท้ายลากไป

2.52 รถที่มีความเร็วช้า ผู้ขับขี่จะต้องปฏิบัติอย่างไร
ก.ขับรถได้ทั้งด้านซ้ายและด้านขวา
ข. ขับรถชิดขอบด้านขวา
ค. ขับรถที่บริเวณไหล่ทาง
ง.ขับรถชิดขอบด้านซ้าย