Pages - Menu

เว็บเพื่อนบ้าน

วันพุธที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ข้อสอบใบขับขี่ ปี 2558 จำนวน 740 ข้อ พร้อมเฉลย

ชุดข้อสอบในทั้งหมดในกลุ่ม

วันอาทิตย์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ชนิดของใบขับขี่ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์

ชนิดของใบขับขี่อายุ (ปี)อัตราค่าธรรมเนียม (บาท)
1. ใบอนุญาตขับรถชนิดชั่วคราว
- ใบอนุญาตขับรถยนต์ชั่วคราว
- ใบอนุญาตขับรถยนต์สามล้อชั่วคราว
- ใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลชั่วคราว

1
1
1

100
50
50
2. ใบอนุญาตขับรถยนต์ส่วนบุคคล5500
3. ใบอนุญาตขับรถยนต์สามล้อส่วนบุคคล5250
4. ใบอนุญาตขับรถยนต์สาธารณะ3300
5. ใบอนุญาตขับรถยนต์สามล้อสาธารณะ3150
6. ใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล5250
7. ใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์สาธารณะ3150
8. ใบอนุญาตขับรถบดถนน5250
9. ใบอนุญาตขับรถแทรกเตอร์5250
10. ใบอนุญาตขับรถชนิดอื่นนอกจาก (1) ถึง (9)5100
11. ใบอนุญาตขับรถตามความตกลงระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นภาคี (ใบอนุญาตขับรถระหว่างประเทศ)1500

ผู้ประสงค์จะทำใบขับขี่แบบใหม่ (บัตรพลาสติก) จะต้องชำระค่าถ่ายรูปและพิมพ์บัตรฉบับละ 100 บาท

10 วิธีเซฟน้ำมันรถยนต์

    แม้ว่าราคาน้ำมันช่วงจะลดต่ำลงยั่วใจขาเที่ยวให้ผุดไอเดียขับรถไปต่างจังหวัดกันแบบสบายกระเป๋า แต่เราก็ขอบอกกล่าว 10 วิธีง่ายๆช่วยขับรถได้อย่างประหยัดน้ำมัน ในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2558 จะได้มีเงินเหลือสำหรับใช้จ่ายอย่างอื่นนั่นไงล่ะครับ



     1.ควรเก็บสัมภาระหรือของหนักๆที่ไม่จำเป็นออกจากรถเพื่อจะได้ลดน้ำหนัก ซึ่งการเพิ่มน้ำหนักจะทำให้รถกินน้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้น 20% ตามระยะทางที่วิ่งเชียวนะครับ



     2.ควรอุ่นเครื่องยนต์อย่างน้อยสัก 1 นาที ในหน้าร้อน และ 3 นาที ในหน้าหนาว ซึ่งเครื่องยนต์จะได้ไม่ใช้กำลังฉุดมากและการหล่อลื่นจะสมบูรณ์ขึ้นด้วยนะครับ



     3.ค่อยๆ ออกตัวเมื่อรถจอดนิ่งที่ 1,000-2,000 รอบ จะได้ความนิ่มนวล ประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงและลดการสึกหรอของเครื่องยนต์ด้วย



     4.ควรใช้เกียร์สูงขึ้นเมื่อรถวิ่งได้ 2,500 รอบ ขึ้นไป เพราะการลากเกียร์จะทำให้ชุดเกียร์ทำงานหนักจนอายุการใช้งานสั้นลงและทำให้สิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงอีกด้วยครับ



     5.เครื่องยนต์ 2,000 cc. ขึ้นไป หรือรถยนต์ขนาดกลางนั้น ความเร็วคงที่ๆประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงคือ 110 Km./h. ส่วน เครื่องยนต์ต่ำกว่า 1,600 cc.หรือรถยนต์ขนาดเล็ก ความเร็วคงที่ๆประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงคือ 90 Km./h. ซึ่งการรักษาเสถียรภาพความเร็วตามนี้ได้ ทำให้รถยนต์กินน้ำมันเชื้อเพลิงน้อยที่สุดขณะรถวิ่งนะครับ





     6.ควรพักรถสัก 15 นาที เมื่อขับรถเกิน 4 ชั่วโมง เพื่อให้ความร้อนลดลง ซึ่งจะทำให้น้ำมันเชื้อเพลิงและน้ำมันหล่อลื่นในระบบคลายความร้อนลงและกลับมามีคุณสมบัติที่ดีอีกครั้งหนึ่ง



     7.เกียร์ถอยหลังจะกินน้ำมันเชื้อเพลิงมากที่สุดนะครับ ควรค่อยๆ ถอยหลังไม่ต้องเร่งเครื่องยนต์มากเกินไป โดยเกียร์ถอยหลังจะใช้อัตราทด และใช้แรงฉุดมากกว่าทุกเกียร์



     8.ควรเว้นระยะห่างจากรถคันหน้าให้เหมาะสม และไม่ควรหยุดรถหรือเบรกรถโดยพร่ำเพรื่อ  ซึ่งตรงนี้จะช่วยให้ประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงและ ทำให้ไม่สิ้นเปลืองผ้าเบรกโดยไม่จำเป็น ด้วยครับ



     9.ก่อนถึงปลายทางสัก 500 เมตร ควรปิดคอมเพรสเซอร์แอร์เพื่อลดภาระของเครื่องยนต์ ซึ่งจะช่วยให้ประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง และพัดลมจะเป่าลมไล่ความชื้นในตู้แอร์ ไล่เชื้อราที่สะสมอยู่ในความชื้นอีกด้วย



     10.ตรวจสอบลมยางให้สม่ำเสมอ ทุกๆ 2 อาทิตย์ หากลมยางอ่อนรถจะวิ่งได้ช้าลง ขอบยางจะสึกมากและยางจะหมดอายุก่อน กำหนด รวมทั้งยังเป็นการสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงอีกด้วยครับ



     ที่มา OLX.co.th

การจองคิวอบรมในการขอรับใบขับขี่ตามพ.ร.บ.รถยนต์ ชนิดชั่วคราว (ขอใหม่)

กรมการขนส่งทางบก เปิดให้ประชาชนสามารถจองคิวเพื่อเข้ารับการอบรมได้ล่วงหน้า โดยสามารถจองคิวได้ด้วยตนเอง หรือ ทางโทรศัพท์ ดังนี้
ท่านสามารถจองคิวอบรมของสำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-5
ผ่านระบบออนไลน์ได้โดย
 
คลิกที่นี่

สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ 5 (ฝั่งตรงข้ามตลาดนัดจตุจักร) 
เปิดรับคำขอรับใบขับขี่ได้ไม่เกิน 100 คน/วัน
ผู้ที่ประสงค์จองคิวทางโทรศัพท์ ติดต่อหมายเลข 0-2271-8888 ต่อ 4201-4 หรือสอบถาม 1584แผนที่ตั้งสำนักงาน

สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1 (ถนนบางขุนเทียน-ชายทะเล)
เปิดรับคำขอรับใบขับขี่ได้ไม่เกิน 100 คน/วัน
ผู้ที่ประสงค์จองคิวทางโทรศัพท์ ติดต่อหมายเลข 0-2415-7337 ต่อ 204-205
แผนที่ตั้งสำนักงาน

สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ 2 (ถนนสวนผัก ตลิ่งชัน)
เปิดรับคำขอรับใบขับขี่ได้ไม่เกิน 80 คน/วัน
ผู้ที่ประสงค์จองคิวทางโทรศัพท์ ติดต่อหมายเลข 0-2433-4773
แผนที่ตั้งสำนักงาน

สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ 3 (ถนนสุขุมวิท ตรงข้ามซอยสุขุมวิท 62/1)
เปิดรับคำขอรับใบขับขี่ได้ไม่เกิน 100 คน/วัน
ผู้ที่ประสงค์จองคิวทางโทรศัพท์ ติดต่อหมายเลข 0-2333-0035
แผนที่ตั้งสำนักงาน

สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ 4 (ถนนสุวินทวงศ์ หนองจอก)
เปิดรับคำขอรับใบขับขี่ได้ไม่เกิน 100 คน/วัน
ผู้ที่ประสงค์จองคิวทางโทรศัพท์ ติดต่อหมายเลข 0-2543-5512
แผนที่ตั้งสำนักงาน

สำหรับในส่วนภูมิภาคสำนักงานขนส่งจังหวัดทุกจังหวัด
จะเปิดรับคำขอตามความเหมาะสม ซึ่งสามารถสอบถามข้อมูลได้ที่สำนักงานขนส่งจังหวัดนั้นๆ

ผู้ที่ประสงค์ขอรับใบขับขี่ควรติดต่อจองคิวล่วงหน้า โดยสามารถมาจองด้วยตนเองพร้อมเอกสาร ได้แก่ บัตรประชาชนพร้อมสำเนา ใบรับรองแพทย์อายุไม่เกิน 1 เดือน ซึ่งเจ้าหน้าที่จะทำการทดสอบสมรรถภาพร่างกายในวันเดียวกัน และจะออกใบนัดเพื่อให้เข้ารับการอบรมตามวัน เวลา ที่ระบุ ตามลำดับ โดยต้องมาลงทะเบียนก่อนเวลา 09.00 น. เพื่อเจ้ารับการอบรม ทดสอบข้อเขียน ซึ่งผู้ที่สอบผ่านแล้วจะเข้ารับการอบรม ทดสอบข้อเขียน ซึ่งผู้ที่สอบผ่านแล้ว จะเข้ารับการทดสอบขับรถในวันทำการถัดไป หากผ่านการทดสอบจะได้รับใบขับขี่ทันที
ผู้ที่ประสงค์ขอรับใบขับขี่ควรติดต่อจองคิวล่วงหน้า โดยสามารถมาจองด้วยตนเองพร้อมเอกสาร ดังนี้
1. บัตรประจำตัวประชาชนฉบับจริง พร้อมสำเนา
2. ใบรับรองแพทย์ อายุไม่เกิน 1 เดือน (30วัน)

ซึ่งเจ้าหน้าที่จะทำการทดสอบสมรรถภาพร่างกายในวันเดียวกัน และจะออกใบนัดเพื่อให้เข้ารับการอบรมตาม วัน เวลา ที่ระบุ ตามลำดับ โดยต้องมาลงทะเบียนก่อนเวลา 09.00 น. เพื่อเจ้ารับการอบรม ทดสอบข้อเขียน ซึ่งผู้ที่สอบผ่านแล้วจะเข้ารับการอบรม ทดสอบข้อเขียน ซึ่งผู้ที่สอบผ่านแล้ว จะเข้ารับการทดสอบขับรถในวันทำการถัดไป หากผ่านการทดสอบจะได้รับใบขับขี่ทันที (ต้องดำเนินการภายใน 90 วัน)
สำหรับผู้ที่จองคิวทางโทรศัพท์ ต้องมาลงทะเบียนในวันที่นัดอบรมก่อนเวลา 08.00 เพื่อทำการทดสอบสมรรถภาพร่างกายก่อนเข้ารับการอบรม จากนั้น จึงดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป

ขั้นตอนการต่อใบขับขี่ 1ปี (ชั่วคราว) เป็นชนิด 5 ปี

ขั้นตอนการต่อใบขับขี่ 1ปี (ชั่วคราว) เป็นชนิด 5 ปี
ระยะหลังๆมานี่เราจะเห็นได้ว่าบนท้องถนนมีรถยนต์ใหม่ๆ ป้ายแดงออกมาเป็นจำนวนมาก ซึ่งนั่นก็แสดงว่าจะต้องมีผู้ขับขี่หน้าใหม่ป้ายแดงเพิ่มขึ้นตามไปด้วยเช่นกัน ดังนั้นเวลาที่ผู้ขับขี่หน้าใหม่ ทำใบขับขี่ใบแรกในชีวิต ก็จะต้องเป็นใบขับขี่แบบชั่วคราวหรือใช้งานได้ระยะเวลา 1 ปี ค่ะ ซึ่งพอถึงระยะเวลาที่ใบขับขี่จะหมดอายุลง เราก็จะต้องไปต่อใบขับขี่ใบใหม่ ให้เป็นแบบ ใบขับขี่ ชนิด 5 ปี ซึ่งเรามีขั้นตอนวิธีการต่อมาฝากกันค่ะ

ใบขับขี่

การขอรับใบขับขี่รถส่วนบุคคล (เปลี่ยนจากชนิดชั่วคราว เป็นชนิด 5 ปี)
การขอรับใบขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคล ใบขับขี่รถยนต์สามล้อส่วนบุคคล หรือใบขับขี่รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล (เปลี่ยนจากชนิดชั่วคราว เป็นชนิด 5 ปี)

คุณสมบัติของผู้ขอรับใบขับขี่
1) ได้รับใบขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคลชั่วคราว ใบขับขี่รถยนต์สามล้อส่วนบุคคลชั่วคราว หรือใบใบขับขี่รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลชั่วคราว แล้วแต่กรณี มาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี (ยื่นก่อนใบขับขี่สิ้นอายุได้ไม่เกิน 60 วัน)

2) มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 46 ดังนี้
(1) มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์
(2) มีความรู้ความสามารถในการขับรถ
(3) มีความรู้ในข้อบังคับการเดินรถตามพระราชบัญญัติรถยนต์ และตามกฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก
(4) ไม่เป็นผู้มีร่างกายพิการจนเป็นที่เห็นได้ว่าไม่สามารถขับรถได้
(5) ไม่มีโรคประจำตัวที่ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมเห็นว่าอาจเป็นอันตรายขณะขับรถ
(6) ไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือน
(7) ไม่มีใบขับขี่รถชนิดเดียวกันอยู่แล้ว
(8) ไม่เป็นผู้อยู่ระหว่างถูกยึดหรือเพิกถอนใบขับขี่

3) ไม่เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษ หรือถูกเจ้าพนักงานเปรียบเทียบปรับตั้งแต่สองครั้งขึ้นไป สำหรับความผิดเกี่ยวกับการขับรถอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ เว้นแต่จะพ้นโทษครั้งสุดท้าย ไม่น้อยกว่า 6 เดือนแล้ว
(ก) ฝ่าฝืนสัญญาณจราจรหรือเครื่องหมาย
(ข) ในขณะเมาสุราหรือของเมาอย่างอื่น
(ค) ในลักษณะกีดขวางการจราจร
(ง) ใช้ความเร็วเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด
(จ) โดยประมาทหรือน่าหวาดเสียวอันอาจเกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สิน
(ฉ) โดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยหรือความเดือนร้อนของผู้อื่น

หลักฐานประกอบคำขอ
1) ใบขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคลชั่วคราว ใบขับขี่รถยนต์สามล้อส่วนบุคคลชั่วคราว ใบขับขี่รถจักรยานยนต์ชั่วคราว ที่ได้รับมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปี ใบขับขี่รถยนต์สาธารณะ ใบขับขี่รถยนต์สามล้อสาธารณะ ใบขับขี่รถจักรยานยนต์สาธารณะ หรือใบแทนใบขับขี่ดังกล่าว ที่ยังไม่หมดอายุ พร้อมด้วยสำเนา แล้วแต่กรณี
2) บัตรประชาชนฉบับจริง พร้อมสำเนา
3) ใบรับรองแพทย์แสดงว่าผู้ขอไม่มีโรคประจำตัวอันอาจเป็นอันตรายขณะขับรถและไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือน ซึ่งมีอายุใช้ได้ตามที่แพทย์ผู้รับรองกำหนด แต่ต้องออกก่อนวันยื่นคำขอไม่เกิน 1 เดือน

ขั้นตอนการดำเนินการ
1) ตรวจสอบเอกสาร และออกคำขอ
2) ทดสอบสมรรถภาพร่างกาย
ทดสอบการมองเห็นสี ที่จำเป็นในการขับรถ
ทดสอบสายตาทางลึก
ทดสอบสายตาทางกว้าง
3) ชำระค่าธรรมเนียม / ถ่ายรูปพิมพ์ใบขับขี่ / จ่ายใบขับขี่

หมายเหตุ
กรณีสิ้นอายุเกิน 1 ปี แต่ไม่เกิน 3 ปี เพิ่มขั้นตอนทดสอบข้อเขียน
กรณีสิ้นอายุเกิน 3 ปี เพิ่มขั้นตอนอบรม / ทดสอบข้อเขียน / ทดสอบขับรถ

Credit : กรมการขนส่งทางบก
ภาพประกอบจาก : www.Photos.com

การต่ออายุใบขับขี่รถส่วนบุคคล (ต่อชนิด 5 ปี เป็นชนิด 5 ปี)

การต่ออายุใบขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคล ใบขับขี่รถยนต์สามล้อส่วนบุคคล หรือใบขับขี่รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล ใบขับขี่รถบดถนน ใบขับขี่รถแทรกเตอร์ หรือใบขับขี่รถชนิดอื่น (ยื่นก่อนใบขับขี่สิ้นอายุ ไม่เกิน 3 เดือน)

คุณสมบัติของผู้ขอรับใบขับขี่
1) เป็นผู้ที่ได้รับใบขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคล ใบขับขี่รถยนต์สามล้อส่วนบุคคล ใบขับขี่รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล ใบขับขี่รถบดถนน ใบขับขี่รถแทรกเตอร์ หรือใบขับขี่รถชนิดอื่นอยู่เดิมแล้ว
2) ผู้ขอยังคงมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามสำหรับผู้ถือใบขับขี่ชนิดนั้นๆ

หลักฐานประกอบคำขอ
1) ใบขับขี่เดิม หรือใบแทน
2) บัตรประชาชนฉบับจริง พร้อมสำเนา

ขั้นตอนการดำเนินการ
1) ตรวจสอบเอกสาร และออกคำขอ
2) ทดสอบสมรรถภาพร่างกาย
         ทดสอบการมองเห็นสี ที่จำเป็นในการขับรถ
         ทดสอบสายตาทางลึก
         ทดสอบสายตาทางกว้าง
         ทดสอบปฎิกิริยาเท้า (ความสามารถในการใช้เบรคเท้า)
3) อบรม 1 ชั่วโมง
4) ชำระค่าธรรมเนียม / ถ่ายรูปพิมพ์ใบขับขี่ / จ่ายใบขับขี่

หมายเหตุ
กรณีใบอนุญาตสิ้นอายุเกิน 1 ปี แต่ไม่เกิน 3 ปี เพิ่มขั้นตอนการสอบข้อเขียน
กรณีใบอนุญาตสิ้นอายุเกิน 3 ปี เพิ่มขั้นตอนการสอบข้อเขียน และการสอบขับรถ และใบรับรองแพทย์

ที่มา http://www.dlt.go.th/th/index.php?option=com_content&id=3485:2012-09-11-05-04-16&Itemid=88

วันอาทิตย์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2557

เฉลยข้อสอบใบขับขี่ 50 ข้อ ชุดมารยาทและจิตสำนึก

เฉลยข้อสอบใบขับขี่ 50 ข้อ ชุดมารยาทและจิตสำนึก

http://www.thaitestonline.com

#####เฉลยของข้อสอบคือข้อที่เป็นตัวหนา#####
1. เมื่อขับรถเข้าเขตชุมชนที่มีการจราจรติดขัด ผู้ขับรถควรทำอย่างไร
ก. บีบแตรเพื่อเร่งรถคันหน้าและเตือนคนเดินถนนให้หลีกทางไป.
ข. ขับช้าๆ โดยระมัดระวังคนเดิน ใช้แตรเมื่อจำเป็นเพื่อเตือนคนเดินถนนหรือรถคันอื่นเท่านั้น.
ค. ขับเบียดรถที่จอดหรือคนเดินถนนโดยล้ำไปยังช่องจราจรที่สวนมา.
ง. ขับย้อนศรเพื่อหนีการจราจรติดขัดไปยังเส้นทางอื่น
2. สิ่งใดที่ผู้ขับรถไม่ควรทำเมื่อได้รับสัญญาณไฟเขียวให้ขับเคลื่อนรถไปได้
ก. ค่อยๆ เคลื่อนรถออกโดยทิ้งช่วงห่างกับคันหน้าพอสมควร.
ข. ชะลอให้รถจักรยานยนต์หรือรถยนต์ที่อยู่ด้านหน้าเคลื่อนออกไปก่อน.
ค. ตรวจสอบรถในทางแยกอื่นที่อาจวิ่งออกมาก่อนที่จะขับเข้าสู่ทางแยกด้านหน้า.
ง. บีบแตรเร่งรถคันหน้าให้เคลื่อนตัวออกโดยเร็ว
3. ในกรณีที่ท่านขับรถผ่านซอยที่มีรถรอออกเป็นจำนวนมากควรปฏิบัติอย่างไร
ก. บีบแตรหรือให้สัญญาณไฟเตือนรถที่จะออกจากซอยก่อนขับผ่านไป.
ข. เปิดทางให้รถออกจากซอยได้บ้างสลับกับรถทางตรง.
ค. พยายามขับให้ชิดคันหน้าเพื่อไม่ให้รถในซอยแทรกออกมา.
ง. ขับรถผ่านซอยด้วยความเร็วเพื่อส่งสัญญาณว่าขอไปก่อน
4. การขับรถผ่านชุมชน โรงเรียน หรือสถานที่ที่มีคนพลุกพล่าน ควรปฏิบัติอย่างไร
ก. ชะลอความเร็ว บีบแตรเสียงดัง.และใช้ความระมัดระวัง.
ข. ชะลอความเร็ว และใช้ความระมัดระวังในการขับขี่.
ค. บีบแตรและชะลอความเร็ว.
ง. บีบแตร และเร่งความเร็วเพื่อให้พ้นไปโดยเร็ว
5. ท่านคิดว่าข้อใดเป็นการขับขี่รถที่ไร้ซึ่งจิตสำนึก.
ก. ขับรถในขณะที่อ่อนเพลีย ง่วงนอน หรือดื่มสุรา.
ข. ชะลอความเร็วและระมัดระวังเมื่อขับรถผ่านสถานศึกษาที่มีนักเรียนพลุกพล่าน.
ค. เมื่อรู้สึกว่าอ่อนเพลีย ง่วงนอน ให้หยุดรถพักผ่อนทันที.
ง. ไม่มีข้อใดถูกเลย
6. ข้อใดเป็นการปฏิบัติที่ถูกต้องที่สุด
ก. ขับรถโดยมีใบขับขี่ที่ถูกต้อง.และปฏิบัติตามกฎจราจร.
ข. ศึกษาเรียนรู้ในกฎจราจร.
ค. ศึกษาเรียนรู้ในกฎจราจรทั้งในประเทศและต่างประเทศ.
ง. ตั้งใจฟังการถ่ายทอดอบรมเพื่อสอบใบขับขี่
7. การขับรถบนทางด่วนที่ถูกต้อง.เหมาะสม ควรปฏิบัติอย่างไร
ก. ขับรถช้าในช่องทางด้านขวา.
ข. ขับรถอย่างรวดเร็วในช่องทางด้านขวา.
ค. ไม่ขับรถเร็วเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด.
ง. ไม่ให้ขับรถแซงทางด้านซ้าย
8. ใครบ้างที่ต้องคาดเข็มขัดนิรภัยขณะโดยสารไปในรถยนต์เพื่อความปลอดภัยของชีวิต
ก. คนขับรถและผู้โดยสารทุกคนทั้งผู้ใหญ่และเด็กที่นั่งตอนหน้าและตอนหลังรถ.
ข. คนขับรถและผู้โดยสารที่นั่งตอนหน้ารถเท่านั้น.
ค. คนขับรถและผู้โดยสารที่มีอายุมากกว่า 12 ปีขึ้นไป เพราะสามารถคาดเข็มขัดนิรภัยได้.
ง. คนขับรถและผู้โดยสาร ยกเว้นคนแก่กับเด็กที่มีอายุน้อยกว่า 12 ปีลงมา
9. ท่านคิดว่าผู้ขับขี่ ควรปฏิบัติตนอย่างไรในการขับขี่รถให้เกิดความปลอดภัย
ก. พูดคุยหยอกล้อกับแฟนสาวในขณะขับรถ.
ข. ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ในขณะขับรถ.
ค. ดื่มสุรา เที่ยวดึก.นอนดึกเพื่อตื่นแต่เข้ามาขับรถ.
ง. ไม่ประมาท มีวินัย และเคารพในกฎจราจร
10. การกระทำใดของผู้ขับรถซึ่งเป็นการกระทำที่แสดงถึงความมีมารยาทและน้ำใจให้แก่ผู้ใช้ถนนร่วมกัน
ก. ขับรถแซงคิวแทรกเข้าตรงเชิงสะพานหรือก่อนเข้าซอย.
ข. ขับรถบนไหล่ทางเพื่อไปแทรกเข้าด้านหน้าในช่องจราจรปกติ.
ค. กลับรถบนถนนที่มีช่องจราจรสวนทางกันในลักษณะกีดขวางการจราจร.
ง. ไม่หยุดรถบนเส้นทแยงสีเหลืองหรือบริเวณปากซอยและเปิดทางให้รถในเส้นทางอื่นสามารถขับผ่านไปได้ในขณะที่รถท่านติดการจราจร
11. ข้อใดเป็นการปฏิบัติที่ถูกต้อง.
ก. ตรวจเช็กบ้าง.ไม่ตรวจเช็กบ้าง.
ข. ไม่เคยตรวจสอบ ดูแล บำรุงรักษารถ.
ค. ตรวจสอบรถปีละ 1 ครั้ง.
ง. ตรวจเช็กรถตามคู่มือประจำรถ
12. สิ่งใดที่ผู้ขับรถควรทำเมื่อได้รับสัญญาณไฟเหลือง.
ก. ชะลอรถและหยุดรถที่เส้นขาวให้หยุดรถเพื่อป้องกันการขับฝ่าสัญญาณไฟแดง.
ข. บีบแตรเร่งรถคันหน้าให้ขับเร็วขึ้นเพื่อให้รถเราไม่ติดสัญญาณไฟแดง.
ค. ขับเปลี่ยนเลนเพื่อแซงรถขึ้นไปให้พ้นสัญญาณไฟแดง.
ง. ขับตามคันหน้าไปโดยฝ่าสัญญาณไฟแดง
13. หากในขณะขับรถ ท่านสังเกตเห็นรถโดยสารสาธารณะ รถบรรทุกหรือรถอื่นๆ ที่ผู้ขับรถมีพฤติกรรมขับรถประมาท น่าหวาดเสียวและอาจจะเกิดอุบัติเหตุขึ้นได้ ท่านจะจัดการอย่างไร
ก. เปิดไฟฉุกเฉินแจ้งเตือนรถคันหลัง.
ข. ขับรถขึ้นแซงให้พ้นไปอย่างรวดเร็ว.
ค. ขับรถไล่ตาม และบีบแตรเพื่อให้หยุดพฤติกรรมดังกล่าว.
ง. ควรชะลอรถให้ห่างจากรถคันดังกล่าว และแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจโดยด่วน
14. ท่านควรทำอย่างไรเมื่อผู้ขับรถคันอื่นให้สัญญาณไฟขอเข้าใช้ช่องจราจรร่วมกับท่าน
ก. ให้สัญญาณตอบรับโดยชะลอความเร็ว เว้นระยะให้รถคันนั้นสามารถเปลี่ยนช่องจราจรเบี่ยงเข้ามาได้อย่างปลอดภัย.
ข. บีบแตรเตือน รีบขับชิดรถคันหน้า กันไม่ให้เบี่ยงแทรกเข้ามา.
ค. ขับชิดรถคันหน้า พยายามเบียดไม่ให้รถคันหน้าแทรกเข้ามาด้านหน้ารถได้.
ง. เร่งความเร็วรถเป็นระยะ ไม่เปิดช่องว่างให้แทรกเข้ามาในช่องจราจรของเราได้
15. ทัศนคติและจิตสำนึกในการขับรถอย่างปลอดภัยของผู้ขับรถคืออะไร
ก. ขับรถช้า ใจเย็นv.
ข. ขับรถเก่งคล่องแคล่ว.
ค. ขับรถอย่างมีสติเคร่งครัดวินัยจราจรแสดงออกถึงมารยาทและน้ำใจ.
ง. ขับรถดีไม่เกิดอุบัติเหตุ
16. เมื่อขับรถในช่องจราจรขวาสุด และมีรถด้านหลังขับขึ้นมาด้วยความเร็วสูง.ท่านควรทำอย่างไร
ก. ให้สัญญาณไฟเลี้ยวซ้าย และเปลี่ยนไปยังช่องจราจรด้านซ้าย เพื่อให้รถที่มีความเร็วสูงกว่ารถของท่านแซงขึ้นไปอย่างปลอดภัย.
ข. เร่งความเร็วหนีรถด้านหลัง.พยายามขับทิ้งระยะให้ห่างจากรถคันหลัง.
ค. ขับด้วยความเร็วเดิม เพื่อให้รถด้านหลังเปลี่ยนช่องจราจรไปทางซ้าย.
ง. ให้สัญญาณไฟเลี้ยวซ้าย หักหลบไปยังช่องจราจรซ้าย เร่งความเร็วแข่งกับรถในช่องจราจรขวา
17. ท่านควรทำอย่างไรเมื่อผู้ขับรถคันอื่นเปิดทางให้ท่านไปก่อนหรือเข้าร่วมใช้ช่องจราจรด้วย
ก. เร่งรถออกไปโดยตัดข้ามไปยังช่องจราจรถัดไปด้วย.
ข. ก้มหัวหรือยกมือขอบคุณ พร้อมกับเคลื่อนรถออกไปหรือเข้าร่วมใช้ช่องจราจรในลักษณะเร่งร้อน.
ค. ก้มหัวขอบคุณ พร้อมกับเคลื่อนรถออกไปหรือเข้าร่วมใช้ช่องจราจรที่ขอเข้าร่วมด้วยความระมัดระวัง.
ง. ขับรถออกไปหรือเข้าร่วมช่องจราจรแบบช้าๆ และพยายามเบียดข้ามไปยังช่องจราจรถัดไป
18. การขับรถผ่านช่วงทางโค้ง.ทางร่วม ทางแยก.ในช่วงเวลากลางคืนควรจะมีวิธีการใช้ไฟหน้ารถที่เหมาะสมอย่างไร
ก. ชะลอความเร็วก่อนเข้าทางแยก.แล้วกระพริบไฟและเปิดไฟฉุกเฉิน.
ข. ก่อนเข้าโค้ง.ให้กระพริบไฟ และลดเป็นไฟต่ำเมื่อมีรถสวนทาง..
ค. ชะลอความเร็วก่อนเปิดไฟสูง.
ง. ชะลอความเร็วก่อนเปิดไฟต่ำ
19. การใช้ไฟสูงที่ถูกต้องและไม่เสียมารยาท
ก. เปิดไฟสูงเพื่อตรวจสอบสภาพถนนและริมถนน เฉพาะเส้นทางที่มืดมากและไม่มีรถวิ่งอยู่ด้านหน้าหรือสวนทางมา และปิดไฟสูงทันทีที่มีรถวิ่งอยู่ด้านหน้าหรือสวนทางมา.
ข. เปิดไฟสูงแทนไฟส่องสว่างเมื่อวิ่งบนถนนต่างจังหวัดที่ไม่มีไฟฟ้าส่องสว่างสองข้างทางและสามารถมองเห็นไฟท้ายรถคันหน้า.
ค. เปิดไฟสูงทุกครั้งเมื่อวิ่งเข้าทางโค้งที่มืดมากและมีรถวิ่งอยู่ด้านหน้าหรือสวนทางมา.
ง. เปิดไฟสูงทุกครั้งเมื่อวิ่งบนถนนซึ่งเป็นทางขึ้นเนินหรือลงเนินที่ไม่มีไฟฟ้าส่องสว่างข้างทางและสามารถ มองเห็นไฟหน้ารถที่วิ่งสวนทางมา
20. การให้สัญญาณไฟที่ถูกต้องเมื่อขับรถเข้าสู่ทางร่วมทางแยก.
ก. ให้สัญญาณไฟฉุกเฉินเมื่อต้องการขับรถตรงไป.
ข. ให้สัญญาณไฟเฉพาะเลี้ยวขวาเท่านั้น.
ค. ให้สัญญาณไฟทุกครั้งเมื่อต้องการเลี้ยวซ้ายหรือขวา.
ง. ไม่จำเป็นต้องให้สัญญาณไฟเลี้ยวขวาหรือซ้าย เมื่อขับตามรถคันหน้าที่ให้สัญญาณไฟเลี้ยวไปทางเดียวกัน
21. ท่านคิดว่าข้อใดเป็นการขับขี่ที่ไร้ซึ่งมารยาทอย่างมาก.
ก. ใช้ความเร็วรถปกติ เมื่อมีรถคันอื่นกระพริบไฟขอทาง.
ข. ขับรถชิดซ้าย หรือให้ทางแก่รถฉุกเฉิน.
ค. ขับรถจี้ท้าย และบีบแตรไล่บนทางด่วน.
ง. ชะลอความเร็วให้รถคันอื่นแซง
22. การขับรถเลี้ยวบริเวณทางแยกที่มีช่องจราจรมากกว่า 2 ช่องทาง.ข้อใดถูกต้อง.
ก. เปลี่ยนช่องจราจรไปทางซ้ายหรือขวาขณะอยู่ในทางเลี้ยว.
ข. ขับคร่อมช่องจราจรเพื่อตีวงได้กว้างขึ้น.
ค. ขับอยู่ในช่องจราจรเดิมตั้งแต่เริ่มเข้าทางแยกจนเลี้ยวเสร็จสิ้น.
ง. ขับในช่องจราจรซ้ายสุดแล้วเปลี่ยนไปช่องจราจรด้านขวาในขณะเลี้ยว
23. ผู้ขับรถควรทำอย่างไรให้แซงรถได้อย่างปลอดภัยและไม่เสียมารยาท
ก. บีบแตรให้สัญญาณก่อนแซง.เร่งความเร็วแซงซ้ายหรือขวาขึ้นไปตลอดเส้นทางที่รถวิ่ง.
ข. ให้สัญญาณไฟก่อนแซงเร่งความเร็วแซงขึ้นไปแซงแล้วรีบหักกลับเข้าช่องทางเดิมในระยะกระชั้นชิดลดความเร็วลงให้เท่ากับรถที่แซงขึ้นไป.
ค. บีบแตรให้สัญญาณก่อนแซงเร่งความเร็วแซงขึ้นไปแซงแล้ววิ่งรถคู่ขนานไปกับรถที่แซงขึ้นไปอีกระยะหนึ่ง.
ง. ให้สัญญาณไฟก่อนแซง.เร่งความเร็วแซงขึ้นไป เว้นระยะห่างก่อนให้สัญญาณไฟขอกลับเข้าช่องจราจรเดิม เร่งความเร็วรถให้เหมาะสมกับรถที่อยู่ด้านหน้า
24. การกระทำใดของผู้ขับรถซึ่งเป็นพฤติกรรมที่ไร้มารยาทและอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้
ก. ขับรถตามรถด้านหน้าโดยเว้นระยะห่างที่เหมาะสม.
ข. ขับรถจี้ท้ายรถด้านหน้าที่ขับช้า พร้อมกับบีบแตรไล่.
ค. บีบแตรเตือนรถที่กำลังถอยหลังมาชนรถของท่านซึ่งจอดติดไฟแดงอยู่.
ง. เปิดไฟตัดหมอกเมื่อฝนตกหนัก
25. ข้อใดเป็นพฤติกรรมที่ถูกต้องและแสดงมารยาทที่ดีของผู้ขับรถยนต์
ก. ไม่ใช่ผู้พิการแต่จอดรถในพื้นที่จอดรถของผู้พิการ.
ข. ต้องการไปทางตรงแต่ขับรถในช่องจราจรเลี้ยวซ้ายหรือเลี้ยวขวาหรือกลับรถ.
ค. กลับรถที่จุดกลับรถทุกครั้งแม้จะอยู่ไกล.
ง. จอดรถขวางรถคันอื่นโดยเข้าเกียร์และเบรกมือ
26. ในขณะที่ท่านขับรถและสังเกตเห็นว่าด้านหน้ามีผู้กำลังจะข้ามถนน ท่านจะทำอย่างไร
ก. พยายามขับรถผ่านไปอย่างรวดเร็ว.
ข. บีบแตรเสียงดัง.และขับรถผ่านไปอย่างรวดเร็ว.
ค. ลดความเร็วและหยุดรถด้วยความปลอดภัย เพื่อให้คนข้ามถนน.
ง. เบรกหยุดรถอย่างรวดเร็ว เพื่อให้คนข้ามถนน
27. ในการขับรถช่วงเวลากลางคืน ควรที่จะมีการใช้ไฟหน้ารถอย่างไร
ก. เปิดไฟสูง.ตลอดเวลาที่ขับขี่.
ข. เปิดทั้งไฟหน้า และไฟตัดหมอก.
ค. เปิดไฟหน้า ไฟตัดหมอก.และไฟกระพริบฉุกเฉิน.
ง. เปิดไฟต่ำเมื่อมีรถอยู่ด้านหน้าและรถสวนทางมา
28. สิ่งที่ผู้ขับรถควรทำเมื่อเห็นคนยืนบนฟุตบาทและแสดงท่าที่จะข้ามถนนตรงทางม้าลาย
ก. บีบแตรเตือนคนที่จะข้ามถนนและเร่งความเร็วผ่านไป.
ข. แตะเบรกเตือนให้รถหลังรู้ว่าท่านกำลังจะหยุดรถ และหยุดรถตรงทางม้าลาย.
ค. ขับรถตามหลังท้ายคันหน้าอย่างกระชั้นชิดโดยไม่หยุดให้คนข้ามถนน.
ง. ขับรถแซงคันที่จอดรถให้คนข้ามและขับผ่านไปโดยเร็ว
29. ท่านคิดว่าผู้ขับขี่ ควรปฏิบัติตนอย่างไรในการขับขี่รถให้เกิดความปลอดภัย
ก. พูดคุยหยอกล้อกับแฟนสาวในขณะขับรถ.
ข. ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ในขณะขับรถ.
ค. ดื่มสุรา เที่ยวดึก.นอนดึกเพื่อตื่นแต่เข้ามาขับรถ.
ง. ไม่ประมาท มีวินัย และเคารพในกฎจราจร
30. การขับรถเข้าวงเวียนที่ไม่มีสัญญาณไฟจราจรควรปฏิบัติอย่างไร
ก. การขับรถเข้าวงเวียนที่ไม่มีสัญญาณไฟจราจรควรปฏิบัติอย่างไร.
ข. ให้รถทางซ้ายมือของเราที่อยู่ในวงเวียนไปก่อน.
ค. ให้รถที่เข้าวงเวียนและจะเลี้ยวซ้ายไปก่อน.
ง. ให้รถที่เข้าวงเวียนและจะตรงไปให้ไปก่อน
31. หากมีผู้ขับรถกำลังกลับรถเข้ามาในช่องทางที่ท่านขับรถอยู่ ท่านจะตัดสินใจทำอย่างไร
ก. มีใจกรุณาโอบอ้อมอารีให้ทางแก่ผู้กลับรถ.
ข. หงุดหงิด บีบแตรไล่ แต่หยุดรถให้.
ค. เร่งความเร็วเพื่อขอทางไม่ให้กลับรถ.
ง. หลบรถโดยแซงไปอีกช่องทางหนึ่ง

http://www.thaitestonline.com


ข้อสอบใบขับขี่ 2557 พร้อมเฉลย ,ข้อสอบรถยนต์2557,แนวข้อสอบใบขับขี่รถจักรยานยนต์ 2557,ข้อสอบใบขับขี่,ข้อสอบทําใบขับขี่รถยนต์ 2557,แนวข้อสอบสอบใบขับขี่ 2557,ข้อสอบใบขับขี่2557,แบบทดสอบใบขับขี่ 2557,ฝึกทําข้อสอบใบขับขี่,แบบข้อสอบใบขับขี่รถยนต์2557,แบบทดสอบใบขับขี่,ทำข้อสอบออลายรถยนต ,ข้อสอบใบขับขี่รถยนต์ ,ข้อสอบออนไลน์ใบขับขี่ ,ข้อสอบใบขับขี่รถยนต์ ออนไลน์แบบทดสอบพร้อมเฉลย,ข้อสอบใบขับขี่รถยนต์,ข้อสอบใบขับขี่,รวมแนวข้อสอบพร้อมเฉลยใบขับขี่รถยนต์ และรถจักรยานยนต์ปี 2557,ข้อสอบใบขับขื่,แนวข้อสอบใบขับขี่รถยนต์ 2557,ข้อสอบใบขับขี่,ข้อสอบใบขับขี่รถยนต์,ข้อสอบรถยนต์,แนวข้อสอบใบขับขี่ บ3,ติวสอบใบขับขี่ หมวด ว่าด้วยรถยนต์ ,ทดสอบใบขับขี่จักรยานยนต์,การสอบใบขับขี่รถยนต์,สอบใบขับขี่ รถยนต์ 2557,เตรียมสอบใบขับขี่

วันเสาร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2557

แนะ 12 วิธีก่อนจะซื้อรถมือสอง (รถใช้แล้ว)

1. ส่วนภายในด้านหน้าและระบบไฟฟ้า เมื่อเราได้ลองนั่งที่นั่งคนขับ ทุกส่วนที่อยู่ในแผง Console เราต้องตรวจสอบว่าทุกอย่างสามารถทำงานได้ดีหรือไม่

2. ส่วนภายในด้านหลังและระบบการทำงาน ส่วนใหญ่บริเวณนี้ก็คงต้องตรวจสอบสภาพเบาะภายใน อุปกรณ์ที่มีอยู่ด้านหลัง

3. ตรวจสอบตัวถังรถ สำหรับบางท่านที่ไม่คุ้นเคยอาจจะยากสักหน่อย แต่เคล็ดลับง่าย ๆ หาเพื่อนที่ใช้รถรุ่นที่เราหมายตาไว้ ให้ช่วยดูให้ ด้วยความคุ้นเคยเพื่อนจะสามารถบอกเราได้ถึงร่องรอยที่ผิดปกติ แต่ถ้าหาคนรู้จักไม่ได้ ก็คงต้องอาศัยผู้ขายที่มีมาตรฐานไว้ใจได้เท่านั้น

4. เปิดฝากระโปรงหน้า คราวนี้ดูจะยากขึ้นไปอีกขั้น แต่เบื้องต้นดูง่าย ๆ ว่ามีคราบน้ำมันรั่วซึมอยู่หรือไม่ ที่ชี้ให้คุณรู้ว่าคุณกำลังซื้อรถมาขับ หรือซื้อมาซ่อม ถ้าจะให้ดีหาคนที่มีความรู้ไปช่วยจะดีกว่ามาก

5. ยกรถขึ้น ขั้นตอนนี้ต้องใช้เครื่องมือเข้าช่วย แต่ถึงอย่างไรก็สำคัญมากที่สุด ต้องตรวจดูทุกจุดที่อยู่ใต้ท้อง เพราะนั่นหมายถึงชีวิตและทรัพย์สินของคุณทีเดียว

6. เดินเครื่องยนต์ สำรวจฟังเสียงรบกวน ลองหมุนพวงมาลัยดูราบลื่นดีหรือไม่ ฟังเสียงที่เกิดขึ้น ช่วงนี้ตรวจสอบระบบเกียร์ดูว่าผิดปกติหรือไม่ เพราะเป็นระบบที่เสียค่าใช้จ่ายสูงมากหากเกิดเสียขึ้นมา

7. กระโปรงหลัง ท้ายรถ ตรวจการทำงาน ดูอุปกรณ์ประจำรถ จุดนี้สามารถดูได้ว่ารถเคยถูกชนหลังหรือไม่ และอุปกรณ์ทำงานได้อย่างดีหรือเปล่า

8. ทดสอบขับ คงเป็นไปได้ยากถ้าคุณจะต้องตัดสินใจซื้อรถโดยไม่ทำการทดสอบเสียก่อน การขับทดสอบก็เพื่อดูระบบเกียร์ ระดับเสียงรบกวน ระบบเบรก ล้อและช่วงล่าง รวมทั้งการทำงานของหน้าปัดบอกความเร็วและระยะทาง

9. หลังลองขับ แล้วกลับมาดูใต้ท้องใหม่อีกครั้ง ว่ามีรอยรั่วซึม หรือชำรุดที่ใต้ท้องหรือไม่

10. ขาดไม่ได้เลย คือ เอกสาร คู่มือผู้ใช้ สมุดทะเบียน การตรวจสอบประวัติบริการ กุญแจ รีโมท

11.ตรวจสอบระบบเบรก สามารถทำได้โดยระหว่างทดลองขับลองเบรกกระทันหัน เพื่อทดสอบระบบเบรก และ ระบบ ABS ว่าสามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์แบบหรือไม่ สามารถใช้การทดสอบบนความเร็ว ไม่เกิน 60 กม/ชม บนที่ๆไม่มีรถหนาแน่นและควรระวังรถที่ขับตามด้วย ระหว่างเบรกยังสามารถตรวจสอบความผิดปรกติต่างๆจากเสียงเบรกได้ว่า ผ้าเบรกผิดปรกติ ใกล้หมด หรือรวมไปถึงจานเบรกว่ามีพื้นผิวสัมผัสที่สมบูรณ์อยู่หรือไม่ การทดสอบนี้สำคัญต่อความปลอดภัยในการขับขี่มาก

12.คำนวณราคา เมื่อสามารถตรวจสอบทุกๆจุดตามที่ได้นำเสนอมาแล้ว เรื่องถัดไปคือการนำเอาข้อมูลคุณภาพรถทั้งหมดมาคำนวณเป็นราคาที่เหมาะสม โดยอาจอ้างอิงจาก"ราคากลาง"ของรถที่มีสภาพกลางๆ จากนั้นถ้ารถที่คุณดูอยู่มีสภาพดีก็สามารถซื้อได้ในราคาใกล้ๆกับราคากลาง แต่ถ้ารถมีจุดบกพร่องมาก ราคาก็ควรต่ำกว่าราคากลางอย่างแน่นอน ข้อมูลในจุดนี้สามารถทำให้เรารู้ได้ว่าราคาที่เหมาะในการต่อรองแบบมีเหตุผลควรเป็นเท่าใด จำไว้เสมอว่า ของดีราคาถูกมากๆไม่มีอยู่ในโลก ความจริง ของดีราคาเหมาะสมถึงจะเป็นรถที่คุณควรเป็นเจ้าของ

ขั้นตอนการสอบใบขับขี่

1.ตรวจสอบเอกสาร และ ยืนเอกสารและคำขอ
2.ทดสอบร่างกาย-การมองสี-สายตาทางลึก-สายตาทางกว้าง-ปฏิกิริยาการเบรค
3.อบรมไม่เกิน 4 ชั่วโฒง
4.ทดสอบข้อเขียนผ่านระบบ Electronic Examination (E-exam)
5.ทดสอบการขับขี่ตามด่านต่างๆ
6.ยืนเอกสารสอบ/ชำระค่าธรรมเนียม/ถ่ายรูปรับใบขับขี่
เป็นไงบ้างครับขั้นตอนการสอบใบขับขี่ก็เหมือนเดิมเปลี่ยนแปลงไปก็เพียงข้อสอบที่เพิ่มจำนวนเท่านั้นเพื่อนๆคนไหนสอบแล้วอย่าลืมแชร์ประสบการณ์สนุกๆ ให้พวกเราฟังบ้างนะครับ ขอให้สอบใบขับขี่ใหม่ อย่างมีความสุข และ ท่านสามารถโหลดแนวข้อสอบได้ด้านล่างนี้ครับ


หลักฐานในการสอบใบขับขี่

1.บัตรประชาชนตัวจริง พร้อมสำเนา
2.ใบรับรองแพทย์ ตามคำขออายุไม่เกิน 1 เดือน

คุณสมบัติของผู้ต้องการขอสอบใบขับขี่

1.ต้องอายุ 18 ปีบริบูรณ์ สำหรับจักรยานยนต์จะเป็นส่วนบุคคลชั่วคราวรถที่เอามาสอบต้องเป็นรถจักรยานยนต์ขนาดกระบอกสูบรวมกันไม่เกิน 110 ลูกบาศก์เซนติเมตร
2.มีความรู้ในการขับขี่และกฏระเบียบในการขับขี่
3.ไม่เป็นผู้มีร่างกายพิการจนไม่สามารถขับรถได้
4.ต้องไม่มีโรคประจำตัวที่วิชาชีพเวชกรรมเห็นว่าเป็นอันตรายต่อการขับขี่
5.ไม่เป็นบุคคลวิกลจริต
6.ไม่มีใบขับขี่รถชนิดเดียวกัน
7.เป็นผู้ที่ไม่ถูกยึดหรือ เพิกถอนใบขับขี่

วันพฤหัสบดีที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ใบขับขี่ประเภท 2 มีแบบสองแบบ

1.ประเภทสองสาธารณะ ขับรถตู้สาธารณะ,แท๊กซี่, รถทัวร์, รถ 6ล้อ /10 ล้อ ได้ (รถพ่วง,รถบรรทุกสารเคมี,วัตถุอันตราย,วัตถุไวไฟ ขับไม่ได้ ) ซึ่งบุคคลที่จะขอประเภทสองสาธารณะได้นั้น ต้องมีการตรวจสอบประวัติ กับสำนักงานตำรวจแห่งชาติก่อน (ต้องไม่มีคดีติดตัว) 2.ประเภทสองบุคคล ขับรถ 6ล้อ/10ล้อ รถตู้ส่วนบุคคล ได้ แต่จะขับแท๊กซี่,รถทัวร์,รถตู้สาธารณะ,รถรับจ้าง ไม่ได้ ( ประเภทนี้ ไม่ต้องมีการตรวจสอบประวัติ) ส่วนใหญ่จะมีการอบรมเดือนละครั้ง เราต้องไปสมัครไว้ก่อน ถ้าเดือนนั้นเต็มโควต้าแล้ว เค้าก็จะเลื่อนวันอบรมเราไปอบรมกับรุ่นถัดไป อบรม 2 วัน สอบ 1 วัน มีรถให้เช่าขับ (แนะนำควรเช่าขับดีกว่า เพราะโดยส่วนใหญ่รถที่ให้เช่า ทางเจ้าหน้าที่เค้าจะหามาให้) ยังไงถ้าคุณจะไปสอบ ผมแนะนำให้ลองไปดูรถที่ขนส่งที่คุณจะไปสมัคร คุณจะได้เห็นรถที่เขาใช้สอบกัน ลองถามดูว่าเจ้าของรถเป็นใคร เช่ารถของเขาลองครับดูก่อนนะครับ ถ้าเป็นไปได้ ให้คุณลองไปดูวันที่เขาสอบกันจริง ๆ คุณจะได้รู้ว่าเขาสอบท่าอะไรบ้าง ปล. ขนส่งบางที่ รายละเอียดปลีกย่อยบางอย่างก็ไม่เหมือนกัน แล้วแต่เจ้าหน้าที่คุมสอบ คนไม่เคยขับมาก่อน สอบภาคปฏิบัติยังไงก็ไม่ผ่านครับ ต้องลองฝึกขับก่อน ยังไงก็สู้ ๆ นะครับ ขอให้สอบผ่านเร็ว ๆ

วันจันทร์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2557

เฉลยข้อสอบใบขับขี่ล่าสุด 2557 ตอนการรับรู้สถานการณ์อันตราย

เฉลยข้อสอบใบขับขี่ล่าสุด 2557 ตอนการรับรู้สถานการณ์อันตราย

http://www.thaitestonline.com

#####เฉลยของข้อสอบคือข้อที่เป็นตัวหนา#####
1. ท่านขับรถตามหลังรถโดยสารประจำทาง เมื่อถึงป้ายรถเมล์ รถโดยสารประจำทางจอดให้ผู้โดยสารขึ้นและลงรถ เมื่อท่านเห็นรถโดยสารประจำทางหยุด ท่านจะทำอย่างไร

ก. ขับแซงด้านขวาขึ้นหน้ารถโดยสารประจำทาง.
ข. หยุดรถหลังรถโดยสารประจำทาง เพราะอาจจะมีคนโดยสารรถโดยสารประจำทางเดินตัดหน้ารถโดยสารประจำทาง.
ค. ดูว่ามีรถด้านขวาหรือไม่ ถ้าไม่มีรถก็แซงด้านขวา.
ง. ชะลอความเร็ว เตรียมแซงรถโดยสารประจำทางด้านซ้ายหรือด้านขวา
2. เมื่อท่านขับรถยนต์ไปในทางโค้งด้านขวา รถเสียหลักหลุดโค้งออกไปด้านซ้ายลงข้างทางไปชนเสาไฟฟ้า ถามว่าท่านกระทำผิดกฎหมายจราจรทางบกหรือไม่
ก. ไม่มีความผิด เพราะไม่มีคู่กรณี.
ข. ไม่มีความผิด เพราะท่านทำให้เกิดอุบัติเหตุเอง.
ค. มีความผิด เนื่องจากไม่ชะลอความเร็วของรถเมื่อขับรถในทางโค้ง.
ง. มีความผิด เพราะขับรถไปชนเสาไฟฟ้า
3. ท่านขับรถคัน ก. เหตุการณ์ต่อไปนี้ ท่านเป็นฝ่ายกระทำผิดเพราะอะไร

ก. แซงอย่างผิดกฎหมาย.
ข. ขับล้ำเข้าไปในช่องทางรถสวน.
ค. ไม่ลดความเร็วของรถเมื่อขับผ่านทางโค้ง.
ง. ขับรถย้อนศร
4. เมื่อท่านจะขับรถผ่านบริเวณที่เป็นสี่แยกเล็ก ๆ ดังรูป ท่านคาดการณ์ว่าจะมีเหตุการณ์ใดบ้างที่เกิดขึ้นกับท่าน

ก. น่าจะมีรถพุ่งออกจากซอยซ้ายมือมาตัดหน้าท่าน.
ข. น่าจะมีรถพุ่งออกจากซอยขวามือเลี้ยวขวาตัดหน้าท่าน.
ค. น่าจะมีรถสวนฝั่งตรงข้ามท่านเลี้ยวขวาตัดหน้าท่าน.
ง. เป็นไปได้ทุกข้อ
5. รถยนต์ ก. และรถยนต์ ข. วิ่งมาถึงทางแยกพร้อมกัน และเกิดอุบัติเหตุเฉี่ยวกัน ดังรูป

ก. รถยนต์ ก. เป็นฝ่ายผิด.
ข. รถยนต์ ข. เป็นฝ่ายผิด.
ค. ทั้งรถยนต์ ก. และรถยนต์ ข. ผิดด้วยกันทั้ง 2 ฝ่าย.
ง. ไม่มีรถยนต์ฝ่ายใดผิด
6. สมมติว่าในขณะที่ท่านรอข้ามถนนได้เห็นเหตุการณ์รถตู้ส่งของมีคนนั่ง 2 คนถูกรถเก๋งชนท้ายด้านขวา ทำให้รถตู้หมุน 3 รอบ คนขับรถตู้กระเด็นออกจากตัวรถ ศีรษะฟาดพื้นถนนเสียชิวิตถามว่า เพราะเหตุใดคนขับรถตู้จึงกระเด็นออกจากตัวรถ
ก. รถตู้ถูกชนอย่างแรงจนหมุนเหวี่ยงคนขับให้กระเด็นออกจากตัวรถ.
ข. รถเก๋งชนท้ายรถตู้ในมุมเฉียง ๆ ด้านขวา จึงทำให้รถตู้หมุนอย่างแรง.
ค. คนขับรถเก๋งคาดเข็มขัดนิรภัย ส่วนคนขับรถตู้ไม่ได้คาดเข็มขัดนิรภัย.
ง. คนขับรถเก๋งขับรถด้วยความเร็วสูง ส่วนรถตู้ขับช้า ๆ จึงถูกชนอย่างแรง
7. ท่านขับรถคัน ก. จากรูปรถของท่านถูกรถของนาย ข. คัน ข. ชนบริเวณสี่แยกที่ไม่มีสัญญาณไฟจราจร

ก. นาย ก. ผิด เพราะไม่ลดความเร็วในรถขณะขับผ่านทางร่วมทางแยก.
ข. ท่านเป็นฝ่ายผิด เพราะกลับรถในบริเวณทางร่วมทางแยก.
ค. ท่านเป็นฝ่ายผิด เนื่องจากประมาท.
ง. ทั้งท่านและนาย ก. ผิด เพราะขับรถโดยประมาท
8. จากรูปเป็นการชนประสานงากันระหว่างรถคัน ก และ รถคัน ข ถามว่ารถ ก. หรือ รถ ข. เป็นฝ่ายผิด เพราะอะไร

ก. รถ ก. ผิด เพราะแซงซ้ายบนทางโค้งส่วนรถ ข. ถูก เพราะช่องที่ขับมาเป็นไหล่ทางไม่ใช่.
ข. รถ ก. ผิด เพราะขับรถย้อนศร ส่วนรถ ก. ถูกเพราะเป็นไหล่ทางช่องรถวิ่งสามารถขับได้.
ค. รถ ก. เป็นฝ่ายถูก เพราะขับรถชิดขอบทางด้านซ้าย ส่วนรถ ข. เป็นฝ่ายผิด เพราะขับรถชิดขอบทางด้านขวา.
ง. รถ ก. ผิด เพราะแซงด้านซ้าย ส่วนรถ ข. ผิดเพราะขับรถย้อนศร
9. สมมติว่า นาย ก. มีโปรแกรมขับรถตู้พาครอบครัวจากกรุงเทพฯไปท่องเที่ยวจังหวัดแม่ฮ่องสอนโดยออกเดินทางในเวลา 02.00 น. คาดว่าจะไปถึงจังหวัดแม่ฮ่องสอนในเวลาประมาณ 20.00 น.เมื่อขับรถติดต่อกันเป็นเวลา 12 ชั่วโมง ปรากฏว่ารถเสียหลักแฉลบลงข้างทางชนต้นไม้ เป็นเหตุครอบครัวของนาย ก.ได้รับบาดเจ็บหลายคน ท่านพอจะสันนิษฐานได้หรือไม่ว่า อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นเนื่องมาจากสาเหตุใด
ก. นาย ก. หลับในขณะขับรถ.
ข. นาย ก. และคนในครอบครัวของนาย ก. หลับใน.
ค. นาย ก. ไม่ชำนาญเส้นทาง.
ง. ข้อ ก. และ ข้อ ค. ถูก
10. ท่านขับรถคัน ก. เมื่อท่านขับรถถึงบริเวณสี่แยกที่ไม่มีไฟสัญญาณจราจร (ดังภาพ) กรณีใดที่ท่านไม่ใช่เป็นฝ่ายผู้กระทำผิด

ก. เลี้ยวซ้ายทันที.
ข. เลี้ยวขวาทันที.
ค. ขับตรงไปทันที.
ง. หยุดทันทีเมื่อถึงทางแยก
11. สมมติท่านขับรถคัน ก. ในระหว่างที่ขับรถอยู่นั้นรถในช่องทางด้านขวามือของท่านตั้งแต่รถคัน ข. ลงมา อยู่ ๆ ก็หยุดรถท่านเห็นรถในช่องขวามือของท่านหยุด ท่านจะทำอย่างไร

ก. ขับรถต่อไป เพราะช่องเดินรถของท่านโล่งสามารถขับรถต่อไปได้.
ข. เร่งเครื่องยนต์รีบขับขึ้นหน้ารถด้านขวามือ.
ค. ชะลอความเร็ว เนื่องจากไม่แน่ใจว่ารถด้านขวาหยุดให้ผู้โดยสารลงรถหรือไม่.
ง. หยุดรถ เพราะคาดว่าทางข้างหน้าอาจจะมีคนข้ามถนน
12. สมมติว่าในขณะที่ท่านรอข้ามถนนได้เห็นเหตุการณ์รถตู้ส่งของมีคนนั่ง 2 คนถูกรถเก๋งชนท้ายด้านขวา ทำให้รถตู้หมุน 3 รอบ คนขับรถตู้กระเด็นออกจากตัวรถ ศีรษะฟาดพื้นถนนเสียชิวิตถามว่า เพราะเหตุใดคนขับรถตู้จึงกระเด็นออกจากตัวรถ
ก. รถตู้ถูกชนอย่างแรงจนหมุนเหวี่ยงคนขับให้กระเด็นออกจากตัวรถ.
ข. รถเก๋งชนท้ายรถตู้ในมุมเฉียง ๆ ด้านขวา จึงทำให้รถตู้หมุนอย่างแรง.
ค. คนขับรถเก๋งคาดเข็มขัดนิรภัย ส่วนคนขับรถตู้ไม่ได้คาดเข็มขัดนิรภัย.
ง. คนขับรถเก๋งขับรถด้วยความเร็วสูง ส่วนรถตู้ขับช้า ๆ จึงถูกชนอย่างแรง
13. เมื่อท่านขับรถที่มุ่งหน้าเข้าหาหน้าผาของภูเขาสูงแสดงว่า

ก. ถนนที่ท่านกำลังขับรถอยู่นั้นตัดผ่านภูเขา.
ข. ถนนที่ท่านกำลังขับรถอยู่นั้นจะต้องเป็นทางโค้งขวาหรือโค้งซ้าย.
ค. ถนนที่ท่านกำลังขับรถอยู่นั้นอาจเป็นทางตันไม่สามารถขับผ่านไปได้.
ง. ถูกทั้งข้อ ก, ข. และ ค.
14. จากรูป สมมติว่าท่านเป็นผู้ขับรถคัน ก. และมีความประสงค์จะขับเข้าซอยซ้ายมือด้านหน้ารถโดยสารประจำทางที่กำลังจอดรับส่งผู้โดยสารที่ป้ายรถเมล์ ท่านต้องขับรถอย่างไรจึงจะปลอดภัย

ก. หยุดรถหลังรถโดยสารประจำทาง รถให้รถโดยสารประจำทางขับออกไปก่อนแล้วค่อยขับเลี้ยวเข้าซอย.
ข. ขับแซงด้านซ้ายรถโดยสารประจำทางแล้วค่อยเลี้ยวซ้ายเข้าซอย.
ค. ขับแซงด้านขวารถโดยสารประจำทางแล้วค่อยเลี้ยวซ้ายเข้าซอย.
ง. ถูกทั้งข้อ ก, ข. และ ค.
15. รถของท่าน (คัน ข.) ชนกับรถของคัน ก. ตรงบริเวณที่ท่านกำลังเลี้ยวขวาเข้าซอย ดังรูป

ก. ท่านเป็นฝ่ายผิด เพราะขับล้ำเข้าในช่องทางรถสวน.
ข. ฝ่ายนาย ก. เป็นฝ่ายผิด เพราะไม่ยอมให้รถเลี้ยวเข้าซอยไปก่อน.
ค. ท่านเป็นฝ่ายผิด เพราะไม่ได้ให้สัญญาณเลี้ยวขวา.
ง. ฝ่ายนาย ก. เป็นฝ่ายผิด เพราะไม่ลดความเร็วของรถขณะขับผ่านทางร่วมทางแยก
16. สมมติว่าท่านขับรถคัน ก. ออกจากห้างสรรพสินค้า ซึ่งมีป้ายรถเมล์อยู่หน้าห้างดังรูป ท่านจะต้องขับรถอย่างไรจึงจะปลอดภัย

ก. หยุดรถบริเวณทางออกดูรถด้านขวามือ ถ้าไม่มีรถวิ่งมาก็ขับรถเลี้ยวขวาแซงรถประจำทางออกไป.
ข. หยุดรถบริเวณทางออก ดูรถด้านขวามือ ถ้าไม่มีรถวิ่งมาก็ดูรถด้านซ้ายมือว่ามีรถมาจอดต่อท้ายรถโดยสารประจำทางหรือไม่ถ้าด้านซ้ายมือไม่มีรถก็ขับรถออกไป.
ค. ไม่ต้องหยุดรอ ขับเลี้ยวซ้ายออกมาต่อท้ายรถโดยสารประจำทาง.
ง. ถูกทุกข้อ
17. รถของท่าน (คัน ข.) ชนกับรถของนาย คัน ก. ตรงบริเวณที่ท่านกำลังเลี้ยวขวาเข้าซอย ดังรูป

ก. ท่านเป็นฝ่ายผิด เพราะขับล้ำเข้าในช่องทางรถสวน.
ข. ฝ่ายนาย ก. เป็นฝ่ายผิด เพราะไม่ยอมให้รถเลี้ยวเข้าซอยไปก่อน.
ค. ท่านเป็นฝ่ายผิด เพราะไม่ได้ให้สัญญาณเลี้ยวขวา.
ง. ฝ่ายนาย ก. เป็นฝ่ายผิด เพราะไม่ลดความเร็วของรถขณะขับผ่านทางร่วมทางแยก
18. รถ ก. , ข. และ ค. เลี้ยวซ้ายพร้อมกัน คันใดกระทำผิดกฎหมาย (รูปภาพ)

ก. รถคัน ก. และ ข. ผิด เพราะเลี้ยวซ้ายพร้อมกัน.
ข. รถคัน ก. และ ค. ผิด เพราะเลี้ยวซ้ายพร้อมกัน.
ค. รถคัน ข. และ ค. ผิด เพราะเลี้ยวซ้ายพร้อมกัน.
ง. รถคัน ก., ข. และ ค. ผิด เพราะเลี้ยวซ้ายพร้อมกัน
19. ท่านเห็นรถ ก. ชนกับรถ ข. อย่างแรงจนรถทั้ง 2 คันพังยับเยินผู้ขับรถทั้ง 2 คนเสียชีวิตในที่เกิดเหตุตรงบริเวณสามแยก โดยเห็นว่ารถ ข. วิ่งออกจากซอย ชนกับรถ ก. ที่วิ่งมาบนถนนสายหลัก ดังรูปถามว่ารถคันใดทำผิดกฎหมาย เพราะอะไร

ก. ผู้ขับรถ ก. ผิด เพราะไม่ลดความเร็วเมื่อขับรถผ่านทางร่วมทางแยก.
ข. ผู้ขับรถ ข. ผิด เพราะไม่ให้รถที่มีสิทธิ์ผ่านไปก่อน.
ค. ทั้งผู้ขับรถ ก. และผู้ขับรถ ข. ผิดด้วยกันทั้งคู่ ด้วยเหตุผลตามข้อ ก. และ ข..
ง. ผิดทั้งคู่ เพราะผู้ขับรถ ก. ไม่ลดความเร็วเมื่อขับรถผ่านทางร่วมทางแยก และผู้ขับรถ ข. ไม่ให้รถที่มีสิทธิ์ผ่านไปก่อน
20. เมื่อท่านจะขับรถออกจากปากซอย ดังรูป เหตุการณ์ใดต่อไปนี้ที่ท่านเป็นฝ่ายถูก

ก. ท่านเลี้ยวซ้ายทันที.
ข. ท่านเลี้ยวขวาทันที.
ค. ท่านขับตามช่องทางเดินรถไป 1 ช่องแล้วเลี้ยวขวา.
ง. ท่านขับรถถึงปากซอยแล้วหยุดทันที
21. ข้อใดเป็นสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุร้ายแรงที่สุดที่เกิดขึ้นกับรถที่ขับช่องขวาสุด
ก. ถูกรถในช่องทางขับข้ามเกาะกลางมาชนประสานงา.
ข. ขับชนท้ายรถคันที่ขับอยู่ข้างหน้า.
ค. ขับชนท้ายรถที่กำลังเลี้ยวกลับรถ.
ง. หลบรถที่ขับตัดหน้าลงข้างทาง
22. ในขณะที่ท่านกำลังขับรถเลี้ยวขวา ดังรูป ท่านเห็นว่าเบรกไม่ทันรถของท่านจะชนรถคันหน้าจะหักพวงมาลัยรถไถลลงข้างทางไปชนต้นไม้ ถามว่าการกระทำของท่านทำผิดกฎหมายจราจรทางบกหรือไม่

ก. ไม่ผิด เพราะไม่ได้ชนรถที่อยู่ข้างหน้า.
ข. ผิด เพราะไม่ได้ขับในช่องทางเดินรถแต่ไปชนต้นไม้.
ค. ผิด เพราะไม่ลดความเร็วของรถเมื่อขับผ่านทางร่วมทางแยก.
ง. ไม่ผิด เพราะไม่มีผู้เสียหาย

http://www.thaitestonline.com


แนวข้อสอบใบขับขี่รถยนต์,แนวข้อสอบอาเซียน 2557,ข้อสอบใบขับขี่,แบบทดสอบใบขับขี่,ข้อสอบใบขับขี่รถยนต์พร้อมเฉลย 2557,แบบทดสอบป.5,แนวข้อสอบใบขับขี่จักรยานยนต์,ข้อสอบอาเซียนพร้อมเฉลย,ข้อสอบอาเซียน,สอบข้อเขียนใบขับขี่

เฉลยความรู้สำหรับสอบใบขับขี่ล่าสุด 2557 ตอนการบำรุงรักษารถ

เฉลยข้อสอบใบขับขี่จริง หมวดการบำรุงรักษารถ

http://www.thaitestonline.com

#####เฉลยของข้อสอบคือข้อที่เป็นตัวหนา#####
1. น้ำที่ใช้เติมในแบตเตอรี่ ควรใช้น้ำชนิดใด
ก. น้ำกลั่น.
ข. น้ำฝน.
ค. น้ำบาดาล.
ง. น้ำสบู่
2. อุปกรณ์ของรถส่วนใดไม่เกี่ยวกับระบบสายพาน
ก. แอร์.
ข. ไดชาร์ท.
ค. ปั๊มน้ำ.
ง. กรองอากาศ
3. ข้อใดคือความตึงของสายพานพัดลมและไดชาร์ทที่ถูกต้อง
ก. 5-15 มิลลิเมตร.
ข. 20-25 มิลลิเมตร.
ค. 25-30 มิลลิเมตร.
ง. 30-35 มิลลิเมตร
4. การตรวจวัดระดับน้ำมันเครื่องยนต์ในข้อใดมีระดับน้ำมันที่ดีที่สุด
ก. น้ำมันเครื่องยนต์อยู่ระดับ F.
ข. น้ำมันเครื่องยนต์อยู่ระดับ L.
ค. น้ำมันเครื่องยนต์อยู่ระดับต่ำกว่า L.
ง. น้ำมันเครื่องยนต์อยู่ระดับต่ำกว่า F
5. ข้อใดไม่ใช่คุณสมบัติของน้ำมันเครื่องยนต์
ก. ประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง.
ข. ช่วยหล่อลื่น ลดการเสียดสีและการสึกหรอ.
ค. ป้องกันการเกิดสนิมในเครื่องยนต์.
ง. ป้องกันฝุ่นละออง
6. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
ก. แม่แรง.ค้ำยัน ใช้ในการยกรถ.
ข. ยางอะไหล่ไม่จำเป็นต้องมีก็ได้.
ค. ไฟฉาย ช่วยในการหาจุดชำรุดในเวลากลางคืน.
ง. อุปกรณ์ดับเพลิง.ใช้เมื่อเกิดเพลิงไหม้เครื่องยนต์
7. แบตเตอรี่มีอายุการใช้งานน้อยกว่าปกติมีสาเหตุเกิดจากสิ่งใด
ก. น้ำกลั่นแห้งบ่อยครั้ง.
ข. เปิดไฟหน้ารถตลอดเวลาเพราะมีหมอกควันเวลาขับรถ.
ค. เปิดไฟหน้าบ่อยครั้งเวลาขับในช่วงกลางคืน.
ง. เปิดปิดกระจกรถบ่อยครั้งเวลาขับรถ
8. เบรกเท้าจะทำงานที่ล้อใดบ้าง
ก. ล้อหน้าซ้าย ล้อหลังขวา.
ข. ล้อคู่หน้า.
ค. ล้อคู่หลัง.
ง. ทั้ง.4 ล้อ
9. 195/60 R 14 85H ตัว R หมายถึง
ก. ขีดจำกัดความเร็ว.
ข. โครงสร้างยางแบบเรเดียล.
ค. การรับน้ำหนัก.
ง. เส้นผ่าศูนย์กลางล้อ
10. การเติมลมยางสำหรับรถยนต์ ควรปฏิบัติอย่างไร
ก. ใช้วิธีเคาะแล้วฟังเสียงยาง.
ข. คาดคะเนด้วยสายตา.
ค. ปฏิบัติตามคู่มือการใช้รถ.
ง. เติมเท่าไรก็ได้
11. ในขณะที่ท่านเติมน้ำมันเชื้อเพลิงท่านควรปฏิบัติอย่างไร
ก. ดับเครื่องยนต์.
ข. ลงจากรถและเดินออกให้ไกล.
ค. ไม่ต้องทำอะไร.
ง. ติดเครื่องยนต์ไว้
12. สาเหตุรถสตาร์ทไม่ติดเกิดจากสาเหตุใด
ก. กรองอากาศตัน.
ข. น้ำมันเบรกหมด.
ค. น้ำในหม้อน้ำแห้ง.
ง. แบตเตอรี่ไม่มีไฟ
13. ข้อใดคือผลเสียของการไม่ตรวจเช็ครถก่อนใช้งาน
ก. ค่าใช้จ่ายในการซ่อมรถยนต์มากขึ้น.
ข. ประหยัดเชื้อเพลิง.
ค. ลดมลพิษ.
ง. ปลอดภัย
14. ควรหลีกเลี่ยงการใช้เบรกอย่างรุนแรงเมื่ออยู่ในสถานการณ์ใด
ก. ทางขึ้นลาดชัน.
ข. ทางร่วม ทางแยก.
ค. ทางโค้ง.
ง. ทางลงลาดชัน
15. ระดับของเหลวในข้อใดต่อไปนี้ หากอยู่ในระดับที่ต่ำจะมีโอกาสทำให้เกิดอุบัติเหตุ
ก. ระดับน้ำมันเบรก.
ข. ระดับน้ำในแบตเตอรี่.
ค. ระดับน้ำยาหล่อเย็น.
ง. ระดับน้ำฉีดกระจก
16. ถ้าเติมลมยางอ่อนเกินไป จะมีผลกับยางอย่างไร
ก. ดอกยางตรงกลางจะสึกเร็วกว่าปกติ.
ข. การขับขี่จะแข็งกระด้าง.
ค. ทำให้ดอกยางทางด้านข้างทั้งสองสึกหรอ.
ง. ทำให้กินน้ำมันน้อยลง
17. สาเหตุไฟไม่ชาร์จเข้าแบตเตอรี่เกิดจากอะไร
ก. เปิดเครื่องเสียงมากเกินไป.
ข. ฉนวนหุ้มขั้วแบตเตอรี่หลุด.
ค. เปิดสัญญาณไฟเลี้ยวมากเกินไป.
ง. ไดชาร์จชำรุดหรือสายพานไดชาร์จหย่อนหรือขาด
18. การเติมลมยางข้อใดถูกต้อง
ก. เติมในขณะยางยังร้อนอยู่.
ข. ควรเติมลมยางในขณะที่ยางยังเย็นอยู่.
ค. ควรเติมลมยางให้แข็งมากๆ.
ง. ควรเติมลมยางให้อ่อนมากๆ
19. การตรวจสอบลมยางที่ถูกต้องควรปฏิบัติอย่างไร
ก. เอาเหล็กมาตีที่หน้ายาง.
ข. ใช้เครื่องวัดลมยาง.
ค. ดูด้วยตาเปล่า.
ง. ใช้มือคลำ
20. ถ้าเติมลมยางแข็งเกินไป จะมีผลกับยางอย่างไร
ก. ดอกยางตรงกลางจะสึกหรอเร็วกว่าปกติ.
ข. การขับขี่จะนุ่มนวลขึ้น.
ค. ทำให้กินน้ำมันเชื้อเพลิง.
ง. ดอกยางด้านข้างจะสึกเร็วกว่าปกติ
21. ข้อใดกล่าวถูกต้อง
ก. ไม่ควรเติมน้ำมันหล่อลื่นลงไปผสมในน้ำมันเชื้อเพลิง.
ข. การเติมน้ำมันควรเติมในช่วงกลางวัน.
ค. เราไม่สามารถเติมน้ำมันค่าออกเทน 95 แทนออกเทน 91 ได้.
ง. น้ำมันที่แพงคือน้ำมันที่ดีที่สุด
22. น้ำมันเบนซิน E85 หมายความว่า
ก. มีส่วนผสมของเมทานอล 15 ส่วน.
ข. มีส่วนผสมของเอทานอล 15 ส่วน.
ค. มีส่วนผสมของน้ำมัน 85 ส่วน.
ง. มีส่วนผสมของเอทานอล 85 ส่วน
23. วิธีใดเป็นวิธีการแก้ไขเบื้องต้นเมื่อเกิดไฟลัดวงจร
ก. รีบเปิดฝาหม้อน้ำทันที.
ข. ดับเครื่องยนต์และถอดขั้วแบตเตอรี่ออก.
ค. รีบโทรแจ้งเจ้าหน้าที่ดับเพลิง.
ง. ใช้น้ำสาดทันที
24. แบตเตอรี่รถยนต์จะมีขนาดแรงดันไฟฟ้ากี่โวลท์
ก. 12 โวลท์.
ข. 15 โวลท์.
ค. 24 โวลท์.
ง. 220 โวลท์
25. ถ้าพัดลมหม้อน้ำเสียจะเกิดอะไรขึ้น
ก. อุณหภูมิของน้ำและเครื่องยนต์จะเพิ่มขึ้น.
ข. อุณหภูมิของน้ำและเครื่องยนต์จะลดลง.
ค. อุณหภูมิของน้ำและเครื่องยนต์จะคงที่.
ง. ประหยัดน้ำมัน
26. ถ้าไม่ปลดล็อกเบรกมือเมื่อเคลื่อนรถจะมีอาการอย่างไร
ก. เมื่อรถเคลื่อนตัวจะรู้สึกว่ารถเร่งความเร็วไม่ขึ้น.
ข. เมื่อรถเคลื่อนตัวจะรู้สึกว่ารถออกตัวเร็วขึ้น.
ค. เมื่อหมุนพวงมาลัยจะรู้สึกหนัก.
ง. เครื่องยนต์มีอาการสะดุด
27. ไม่ควรเปิดฝาหม้อน้ำในกรณีใด
ก. เปิดตอนเช้าขณะยังไม่ติดเครื่องยนต์.
ข. เครื่องเย็น.
ค. เครื่องร้อนจัด.
ง. เปิดถังพักสำรองหม้อน้ำเพื่อเติมน้ำ
28. เสียงใดคือเสียงที่ผิดปกติจากรถยนต์
ก. เสียงไฟฉุกเฉิน.
ข. เสียงไฟเลี้ยว.
ค. เสียงเบรกดัง.
ง. เสียงไฟถอยหลัง
29. ข้อใดคือวิธีป้องกันไม่ให้เครื่องยนต์ร้อนจัด
ก. เติมยางรถยนต์ให้มากกว่าปกติ.
ข. เปิดเครื่องปรับอากาศรถยนต์ให้แรง.
ค. เปลี่ยนพัดลมให้ใหญ่ขึ้น.
ง. ตรวจระดับน้ำในหม้อน้ำก่อนใช้งานทุกวัน
30. แบตเตอรี่ควรมีฉนวนหุ้มที่ขั้วแบตเตอรี่ขั้วใด
ก. ขั้วบวก.
ข. ขั้วลบ.
ค. ไม่จำเป็นต้องมีฉนวนหุ้ม.
ง. หุ้มทั้งสองขั้ว
31. ข้อใดไม่ใช่หน้าที่ของน้ำมันเครื่องยนต์
ก. ระบายความร้อนออกจากหม้อน้ำ.
ข. หล่อลื่นชิ้นส่วนที่เคลื่อนที่เพื่อลดการสึกหรอ.
ค. ทำความสะอาดชิ้นส่วนภายในเครื่องยนต์.
ง. ระบายความร้อนออกจากเครื่องยนต์
32. ข้อใดไม่ใช่สาเหตุของการเกิดควันไอเสียสีขาว
ก. กรองอากาศตัน.
ข. แหวนลูกสูบหลวม.
ค. เติมน้ำมันเครื่องมากเกินไป.
ง. เครื่องยนต์สึกหรอมาก
33. ถ้าเครื่องยนต์ร้อนจัดไม่ควรปฏิบัติอย่างไร
ก. เติมน้ำเมื่อเครื่องยนต์เย็นลง.
ข. เอาน้ำราดลงไปที่เครื่องยนต์จะทำให้เครื่องยนต์เย็น.
ค. เปิดฝากระโปรงเพื่อระบายความร้อน.
ง. ปิดแอร์ เปิดหน้าต่างและจอดรถ
34. การตรวจเช็กระดับน้ำมันเครื่องยนต์ดูได้จากสิ่งใด
ก. ก้านวัดระดับน้ำมันเครื่องยนต์.
ข. ก้านวัดระดับน้ำมันเกียร์ออโต้.
ค. ก้านวัดระดับน้ำมันเพาเวอร์.
ง. กรองน้ำมันเครื่องยนต์
35. สีของน้ำมันเบรกที่เสื่อมสภาพคือสีใด
ก. สีฟ้า.
ข. สีแดง.
ค. สีดำ.
ง. สีเหลือง
36. คราบขี้เกลือที่ขั้วแบตเตอรี่เกิดจากสาเหตุใด
ก. ฝุ่นละอองไปเกาะ.
ข. น้ำกรดทำปฏิกิริยากับอากาศ.
ค. น้ำไปโดนที่ขั้วแบตเตอรี่.
ง. ฉนวนหุ้มขั้วแบตเตอรี่สกปรก
37. รถเครื่องยนต์ดีเซลหากมีควันดำมากผิดปกติเกิดจากสาเหตุใด
ก. กรองอากาศตัน.
ข. เติมน้ำมันผิดประเภท.
ค. เติมน้ำมันปลอม.
ง. ในน้ำมันเชื้อเพลิงมีน้ำผสมอยู่
38. การตรวจเช็กระดับน้ำมันหล่อลื่นในเครื่องยนต์ตรวจเช็กที่อุปกรณ์ส่วนใดของเครื่องยนต์
ก. อ่างน้ำมันเครื่อง.
ข. ฝาเติมน้ำมันเครื่อง.
ค. กรองน้ำมันเครื่อง.
ง. ก้านวัดน้ำมันเครื่อง
39. ข้อใดไม่ใช่สาเหตุของการสตาร์ทรถไม่ติด
ก. ขั้วแบตเตอรี่หลวม.
ข. สายพานหย่อน.
ค. น้ำมันเชื้อเพลิงหมด.
ง. มอเตอร์สตาร์ทเสีย
40. ขณะขับรถไฟเตือนสีใดไม่ควรแสดงอยู่บนแผงหน้าปัด
ก. สีเขียว.
ข. สีเหลือง.
ค. สีแดง.
ง. สีน้ำเงิน
41. ข้อใดเป็นขั้นตอนก่อนตรวจเช็กและเติมระดับน้ำมันหล่อลื่นเครื่องยนต์ ที่ถูกต้อง
ก. จอดรถบนพื้นราบ เช็กน้ำมันขณะยังติดเครื่องยนต์อยู่อย่างน้อง.10-15 นาที.
ข. จอดรถบนพื้นราบ เช็กน้ำมันขณะยังไม่ติดเครื่อง.หรือดับเครื่องยนต์อย่างน้อย 10-15 นาที.
ค. จอดรถบนพื้นราบ เช็กน้ำมันหลังดับเครื่องยนต์ทันที.
ง. จอดรถบนพื้นราบ เช็กน้ำมันขณะยังติดเครื่องยนต์ หรือดับเครื่องยนต์ทันที
42. ถ้าระดับน้ำมันเครื่องยนต์ต่ำเกินไปจะมีผลอย่างไร
ก. ประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง.
ข. ยืดอายุการทำงานของชิ้นส่วนเครื่องยนต์.
ค. เครื่องแรงสตาร์ทติดง่าย.
ง. ทำให้ชิ้นส่วนของเครื่องยนต์สึกหรออย่างรวดเร็ว
43. หม้อน้ำรถยนต์มีหน้าที่อะไร
ก. ระบายความร้อนของเครื่องยนต์.
ข. ทำให้รถวิ่งเร็วขึ้น.
ค. ระบายความร้อนให้ห้องผู้โดยสาร.
ง. ทำให้ประหยัดน้ำมัน
44. เครื่องยนต์เบนซินกับเครื่องยนต์ดีเซลมีข้อแตกต่างอย่างไร
ก. มีระบบการสตาร์ทต่างกัน.
ข. มีระบบการใช้น้ำระบายความร้อนต่างกัน.
ค. เครื่องยนต์เบนซินใช้หัวเทียนในการจุดระเบิด.
ง. มีระบบไฟต่างกัน
45. เมื่อเหยียบเบรกแล้วเกิดเสียงดังเป็นเพราะสาเหตุใด
ก. ผ้าเบรกหมดหรือหมดอายุ.
ข. ยางหมดอายุ.
ค. ลมยางอ่อน.
ง. ลมยางแข็ง
46. หากรถของท่านเกิดท่อน้ำมันรั่วท่านควรทำอย่างไร
ก. ดับเครื่องยนต์และไม่ควรขับรถต่อไปเนื่องจากอาจเกิดไฟไหม้ได้.
ข. ขับไปหาศูนย์บริการเพื่อทำการซ่อม.
ค. ใช้เทบรัดและขับไปหาช่าง.
ง. นำขวดมารองน้ำมันที่รั่วและขับต่อไป
47. การเติมน้ำในหม้อพักน้ำควรเติมให้อยู่ในระดับใด
ก. เติมให้อยู่ระหว่าง.Full กับ Low.
ข. เติมให้เลยระดับ Full.
ค. เติมให้ต่ำกว่า Low.
ง. เติมให้ถึงฝาปิด
48. ในการถอดขั้วแบตเตอรี่ ควรถอดขั้วใดก่อน
ก. ถอดขั้วบวกและขั้วลบพร้อมกัน.
ข. ขั้วบวก.
ค. ขั้วใดก่อนก็ได้.
ง. ขั้วลบ
49. ขณะขับรถไปได้ระยะหนึ่งปรากฏว่าไฟเตือนสีแดง.แสดงเกิดจากสาเหตุใด
ก. ไดชาร์ทชำรุด.
ข. แบตเตอรี่เสีย.
ค. แบตเตอรี่ใกล้หมดอายุ.
ง. น้ำกลั่นแห้ง
50. น้ำมันแก๊สโซฮอล์ที่มีจำหน่ายในประเทศไทยมีค่าออกเทนสูงสุดเท่าใด
ก. ค่าออกเทน 98.
ข. ค่าออกเทน 95.
ค. ค่าออกเทน 91.
ง. ค่าออกเทน 87
51. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่สาเหตุที่ทำให้เครื่องยนต์สตาร์ทไม่ติดหรือติดยาก
ก. แบตเตอรี่มีไฟไม่เพียงพอ.
ข. เติมน้ำมันเครื่องมากเกินไป.
ค. น้ำมันเชื้อเพลิงหมด.
ง. ฟิวส์ขาด
52. อุปกรณ์ใดที่ไม่มีส่วนช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของเบรกรถ
ก. ยางรถยนต์.
ข. พวงมาลัย.
ค. เกียร์.
ง. ระบบช่วงล่าง
53. การเติมน้ำในถังพักหม้อน้ำควรอยู่ในระดับใด
ก. อยู่ระหว่างเกณฑ์สูง-ต่ำ ที่กำหนดไว้ข้างถังพักน้ำ.
ข. เต็มถัง.
ค. เติมเท่าไรก็ได้.
ง. ครึ่งถัง
54. น้ำมันแก๊สโซฮอล์ มีความหมายอย่างไร
ก. น้ำมันที่มีส่วนผสมของเอทานอล.
ข. น้ำมันที่มีส่วนผสมของสารตะกั่ว.
ค. น้ำมันที่ได้จากพืช 100 เปอร์เซ็นต์.
ง. น้ำมันที่มีส่วนผสมของน้ำมันหล่อลื่น
55. ข้อใดไม่ใช่สาเหตุที่ทำให้ยางระเบิด
ก. ใช้ยางเก่าเก็บ.
ข. ใช้ยางหมดอายุ.
ค. บรรทุกน้ำหนักมากเกินไป.
ง. เติมลมยางให้พอดีตามที่กำหนด
56. ควรเปลี่ยนน้ำมันเบรกเมื่อใด
ก. ควรเปลี่ยนทุก.2 ปี.
ข. ควรเปลี่ยนทุก.5 ปี.
ค. ควรเปลี่ยนทุกปี.
ง. ไม่ต้องเปลี่ยน คอยเติมให้ได้ระดับเท่านั้น
57. การตรวจสอบลมยางล้อรถ จะต้องตรวจสอบที่ล้อใด
ก. เฉพาะล้อหน้า.
ข. เฉพาะล้อหลัง.
ค. ทั้งสี่ล้อ.
ง. ทั้งสี่ล้อและล้ออะไหล่
58. ข้อใดไม่ใช่สาเหตุที่ควรจะเปลี่ยนสายพาน
ก. สายพานหย่อน.
ข. ร่องสายพานไม่มี.
ค. สายพานแตก.กรอบ.
ง. สายพานขาดครึ่งเส้น
59. ข้อใดไม่ใช่หน้าที่ของน้ำมันเครื่องยนต์
ก. ระบายความร้อน.
ข. รองหรือคั่นหน้าผิวสัมผัส.
ค. สร้างความหนืด.
ง. ชำระสิ่งสกปรกเครื่องยนต์
60. อุณหภูมิเครื่องยนต์ที่ทำงานปกติควรอยู่เท่าไร
ก. 60 – 70 องศาเซลเซียส.
ข. 50 -60 องศาเซลเซียส.
ค. 40-50 องศาเซลเซียส.
ง. 80 –95 องศาเซลเซียส
61. ถ้าเกิดเสียงดังแหลมๆ (เอี๊ยดๆ หรือ จี๊ดๆ) ดังจากห้องเครื่องเกิดจากอะไร
ก. หม้อน้ำแห้ง.
ข. แบตเตอรี่หมด.
ค. เครื่องยนต์ทำงานผิดปกติ.
ง. สายพานหย่อน
62. โดยปกติการสลับยางควรสลับทุกระยะทางกี่กิโลเมตร
ก. 10,000 กิโลเมตร.
ข. 25,000 กิโลเมตร.
ค. 30,000 กิโลเมตร.
ง. 35,000 กิโลเมตร
63. ข้อใดไม่ใช่สาเหตุที่ทำให้เครื่องยนต์ร้อนจัด
ก. น้ำในหม้อน้ำแห้ง.
ข. น้ำกลั่นแบตเตอรี่แห้ง.
ค. สายพานพัดลมขาด.
ง. น้ำมันเครื่องแห้ง
64. ไดชาร์จทำหน้าที่อะไร
ก. ทำหน้าที่สตาร์ทเครื่องยนต์.
ข. ทำหน้าที่ผลิตไฟฟ้าในรถยนต์.
ค. ทำหน้าที่ดับเครื่องยนต์.
ง. ทำหน้าที่เช็กอุณหภูมิความร้อนในรถยนต์
65. การตรวจสอบลมยางข้อใดถูกต้อง
ก. 1 เดือน.
ข. 2 เดือน.
ค. 3 เดือน.
ง. อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง
66. เบรกมือใช้ควบคุมล้อใดของรถ
ก. ล้อคู่หลัง.
ข. ล้อคู่หน้า.
ค. ทั้งสี่ล้อ.
ง. ล้อหลังขวา ล้อหน้าซ้าย
67. ข้อใดคือการตรวจวัดระดับน้ำมันเครื่องยนต์
ก. ฟังเสียงเครื่องยนต์.
ข. ดึงก้านวัดน้ำมันเครื่องออกมาตรวจสอบ.
ค. ดูรอยหยดของน้ำมันเครื่อง.
ง. เปิดฝาน้ำมันเครื่องดู
68. ถ้าระดับน้ำมันเครื่องยนต์สูงเกินไปจะมีผลอย่างไร
ก. ลดความร้อนของเครื่องยนต์.
ข. ยืดอายุการใช้งานของเครื่องยนต์ให้ยาวกว่าปกติ.
ค. ทำให้เกิดแรงดันสูงในห้องเครื่องยนต์ และมีควันขาว.
ง. เกิดการเผาไหม้อย่างสมบูรณ์ ลดมลพิษ
69. สภาพท่อยางหม้อน้ำที่ยังใช้งานได้ดีต้องมีลักษณะอย่างไร
ก. บีบแล้วต้องมีความยืดหยุ่น.
ข. บีบแล้วต้องแข็งกระด้าง.
ค. มีรอยบวมที่ท่อยาง.
ง. มีรอยฉีกขาด
70. น้ำมันเบรกควรเปลี่ยนเมื่อใด
ก. ควรเปลี่ยนทุก.3 เดือน.
ข. ควรเปลี่ยนทุก.6 เดือน.
ค. ควรเปลี่ยนทุก.1 ปี.
ง. ควรเปลี่ยนทุกครั้งที่เปลี่ยนน้ำมันเครื่อง
71. ท่านควรเติมน้ำมันเชื้อเพลิงรถเครื่องยนต์เบนซินอย่างไร
ก. เติมค่าที่ต่ำกว่าค่าที่กำหนดเพื่อความประหยัด.
ข. เติมสูงกว่าค่าที่กำหนดเพื่อป้องกันเครื่องยนต์เสียหาย.
ค. เติมน้ำมันที่มีค่าออกเทนตามที่ระบุไว้ในคู่มือรถ.
ง. เติมค่าเท่าใดก็ได้ตามความสะดวก
72. พัดลมหม้อน้ำมีหน้าที่อะไร
ก. ช่วยระบายความร้อนของเบรก.
ข. ทำให้น้ำร้อนเร็วขึ้น.
ค. ช่วยระบายความร้อนของหม้อน้ำ.
ง. ทำให้ประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง
73. หากลมยางล้อหน้าด้านซ้ายอ่อนเวลาขับรถจะมีผลอย่างไร
ก. ยางล้อหลังสึกหรอไม่สม่ำเสมอ.
ข. รถกินน้ำมันน้อยกว่าปกติ.
ค. พวงมาลัยกินไปด้านขวา.
ง. พวงมาลัยกินไปด้านซ้าย
74. การตรวจสอบความตึง-หย่อนของสายพานเครื่องยนต์เบื้องต้น ควรตรวจสอบอย่างไร
ก. ดูสายพานเครื่องยนต์ ด้วยตาเปล่า.
ข. ใช้นิ้วมือกดสายพานเครื่องยนต์.
ค. ติดเครื่องฟังเสียงสายพานเครื่องยนต์.
ง. ใช้มือคลำสายพานเครื่องยนต์
75. การตรวจสอบระบบไฟฟ้าในรถยนต์ควรตรวจสอบอะไรบ้าง
ก. ไฟเลี้ยวซ้าย-ขวา.
ข. ไฟเบรกและไฟหน้า.
ค. ไฟหน้าและไฟเลี้ยวซ้ายขวา.
ง. ไฟเลี้ยวซ้าย-ขวาและไฟหน้าสูงต่ำ-ไฟหรี่-ไฟเบรก-ไฟส่องป้ายทะเบียนรถ
76. ในกรณีที่รถให้ใช้น้ำมันออกเทน 95 เท่านั้น ถ้าหากเราเติมน้ำมันค่าออกเทน 91 จะมีผลอย่างไร
ก. ใช้งานได้ตามปกติ.
ข. เครื่องยนต์เกิดการสะดุด (น๊อก).
ค. เครื่องยนต์พังทันทีหากใช้งาน.
ง. ไม่มีผลต่อการใช้งาน
77. ข้อใดคือหน้าที่ของน้ำมันเครื่องยนต์
ก. ระบายความร้อนออกจากหม้อน้ำ.
ข. ระบายความร้อนออกจากเครื่องยนต์.
ค. ระบายความร้อนจากผ้าเบรก.
ง. ทำความสะอาดหม้อน้ำ
78. เหตุใดจึงไม่ควรเติมน้ำในถังพักหม้อน้ำให้เต็มถัง
ก. เพราะ จะทำให้เครื่องยนต์ชำรุด.
ข. เพราะ น้ำในหม้อน้ำจะร้อนมากยิ่งขึ้น.
ค. เพราะจะทำให้หม้อน้ำเป็นสนิมมากยิ่งขึ้น.
ง. เพราะ สำรองเนื้อที่การขยายตัวของน้ำเมื่อเกิดความร้อน
79. ยางมีหน้าที่อย่างไร
ก. ตัดต่อเครื่องยนต์.
ข. ทำให้รถมีกำลังขับเคลื่อน.
ค. ช่วยยึดเกาะถนนไม่ให้ลื่นไถล.
ง. ระบายความร้อน
80. ในการตรวจเช็กน้ำมันเชื้อเพลิงในห้องเครื่องยนต์เราควรตรวจสิ่งใดเป็นหลัก
ก. การเผาไหม้ของเครื่องยนต์.
ข. การปลอมปนของน้ำมัน.
ค. สภาพของท่อน้ำมันและรอยรั่วซึม.
ง. ปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิง
81. ข้อใดคือเสียงดังปกติ
ก. เสียงสายพานหย่อน.
ข. เสียงยางรถเสียดสีกับถนน.
ค. เสียงที่ดังจากที่ปัดน้ำฝน.
ง. เสียงคอมเพลสเซอร์แอร์
82. หากระดับน้ำมันเพาเวอร์ต่ำกว่ากำหนด จะมีผลอย่างไรต่อการขับรถของท่าน
ก. พวงมาลัยจะหนักมากกว่าปกติ.
ข. ขับรถแล้วจะเอียงซ้าย.
ค. ขับรถแล้วจะเอียงขวา.
ง. ขับรถแล้วส่ายไปมา
83. ข้อใดไม่ใช่สาเหตุของสัญญาณแตรไม่ดัง
ก. ฟิวส์ขาด.
ข. สายไฟขาด.
ค. แบตเตอรี่หมด.
ง. สายพานขาด
84. การเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องยนต์ ควรต้องเปลี่ยนอุปกรณ์ชิ้นส่วนใดของเครื่องยนต์ด้วย
ก. สายพานเครื่องยนต์.
ข. หัวเทียน.
ค. กรองน้ำมันเชื้อเพลิง.
ง. กรองน้ำมันเครื่อง
85. ข้อใดต่อไปนี้ปฏิบัติไม่ถูกต้อง
ก. ควรอุ่นเครื่องยนต์ก่อนออกเดินทางทุกครั้ง.
ข. ฟังเสียงเครื่องยนต์ทุกครั้งว่ามีความผิดปกติหรือไม่.
ค. ดับเครื่องยนต์แล้วเช็กระดับน้ำมันเครื่องทันที.
ง. ตรวจสอบระบบส่งกำลังทุกครั้งว่าใช้งานได้อย่างปกติหรือไม่
86. ตัวเลขสองตัวหลัง.13 บ่งบอกถึงอะไร

ก. ปี ค.ศ.ที่ผลิต.
ข. วันที่ผลิต.
ค. สัปดาห์ที่ผลิต.
ง. ปี ค.ศ.ที่ยางหมดอายุ
87. หากท่านตรวจพบว่าท่อน้ำมันเริ่มมีรอยน้ำมันซึมออกมาท่านควรทำอย่างไร
ก. สลับท่อไปไว้ในท่อแรงดันต่ำ.
ข. ใช้เทปรัดให้แน่นขึ้น.
ค. ใช้ไปได้จนกว่าจะมีรอยหยดของน้ำมัน.
ง. ทำการเปลี่ยนท่อใหม่
88. การเปลี่ยนขนาดยางใหญ่เกินไปจะเกิดผลเสียอย่างไร
ก. สิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง.
ข. ความสามารถในการรับน้ำหนักลดน้อยลง.
ค. การสึกหรอของดอกยางจะมากขึ้น.
ง. พวงมาลัยจะเบามากเมื่อความเร็วต่ำ
89. ถ้าขั้วแบตเตอรี่มีคราบขี้เกลือ วิธีการใดเป็นการแก้ไขที่ดีที่สุด
ก. ใช้น้ำอุ่นล้างและทาจาระบี.
ข. ใช้น้ำส้มสายชูล้าง.
ค. ใช้น้ำมะนาวล้าง.
ง. ใช้น้ำกลั่นล้าง
90. การเติมน้ำมันเครื่องควรเติมปริมาณเท่าไหร่
ก. เติมให้สูงกว่าขีดบนของก้านวัด.
ข. ปริมาณเสมอขีดบนของก้านวัด.
ค. เติมให้ต่ำกว่าขีดล่างของก้านวัด.
ง. เติมให้เต็มเครื่องยนต์
91. ในกรณีที่เติมน้ำมันที่มีค่าออกเทนสูงกว่าในคู่มือการใช้จะมีผลอย่างไร
ก. เครื่องยนต์ร้อนขึ้นกว่าเดิม.
ข. ไม่มีผลต่อการใช้งาน.
ค. เครื่องยนต์สึกหรอกว่าปกติ.
ง. รอบเครื่องยนต์สูงขึ้นกว่าปกติ
92. ปั๊มน้ำรถยนต์มีหน้าที่อย่างไร
ก. ทำให้น้ำหมุนเวียนจากเครื่องไปยังหม้อน้ำแล้วไหลกลับเข้าเครื่องยนต์.
ข. ทำให้น้ำมันเชื้อเพลิงหมุนเวียนจากเครื่องไปยังถังน้ำมันเชื้อเพลิง.
ค. ทำให้น้ำมันเครื่องหมุนเวียนภายในเครื่องยนต์.
ง. ปั๊มน้ำจากภายนอกเวลาน้ำในหม้อน้ำขาดหายไป
93. ในขณะขับรถมีไฟเตือนสีแดงรูปแบตเตอรี่ปรากฏขึ้นที่แผงหน้าปัดแสดงว่าอะไร
ก. ไดชาร์ทชำรุด.
ข. แบตเตอรี่เสีย.
ค. น้ำกลั่นในแบตเตอรี่แห้ง.
ง. แบตเตอรี่ไม่มีไฟ
94. ตัวเลขสองตัวแรก.21 บ่งบอกถึงอะไร

ก. วันที่ผลิตยาง.
ข. สัปดาห์ของปีที่ผลิตยาง.
ค. เดือนที่ผลิตยาง.
ง. ปี ค.ศ
95. แบตเตอรี่รถยนต์มีหน้าที่อย่างไร
ก. เก็บรักษาไฟฟ้าและจ่ายกระแสไฟ.
ข. ใช้เวลาดับเครื่องยนต์.
ค. ตัดกระแสไฟ.
ง. ทำหน้าที่ผลิตไฟฟ้าในรถยนต์
96. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการตรวจเช็กรถก่อนใช้งาน
ก. ตรวจการชำรุดของสัญญาณไฟโดยการเปิดไฟกระพริบรอบตัวรถ.
ข. เพื่อยึดอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ ควรใช้น้ำบาดาลเติมอยู่เสมอ.
ค. ควรดับเครื่องก่อนเช็คน้ำมันหล่อลื่น.
ง. ตรวจวัดแรงดันลมยางเป็นประจำ
97. น้ำมันเชื้อเพลิงในข้อใดมีการระเหยเร็วมากที่สุด
ก. น้ำมัน E85.
ข. น้ำมัน E20.
ค. น้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95.
ง. น้ำมัน 95
98. เบรกมือควรใช้ในสถานการณ์ใด
ก. ใช้จอดหรือหยุดรถบนทางลาดชัน.
ข. ใช้เพื่อชะลอความเร็ว.
ค. ใช้เมื่อต้องการหยุดรถกะทันหัน.
ง. ใช้เมื่อขับรถลงทางลาดชัน
99. ในการถอดขั้วแบตเตอรี่ ควรถอดขั้วใดก่อน
ก. ขั้วไหนก่อนก็ได้.
ข. ขั้วบวก.
ค. ทั้งสองขั้วพร้อมกัน.
ง. ขั้วลบ
100. รถเครื่องยนต์ดีเซลหากมีสัญญาณเตือนในระบบกรองดักน้ำ ท่านควรทำอย่างไร

ก. ถอดกรองดังน้ำออกมาทำความสะอาด.
ข. ให้ช่างเปลี่ยนกรองดักน้ำ.
ค. ถ่ายน้ำออกจากกรองดักน้ำ.
ง. ดับเครื่องยนต์และสตาร์ทเครื่องใหม่
101. เพราะเหตุใดจึงไม่ควรเติมน้ำในถังพักหม้อน้ำให้เต็มถัง
ก. เพราะต้องสำรองเนื้อที่ในการขยายตัวของน้ำเมื่อเกิดความร้อน.
ข. เพราะน้ำในหม้อน้ำจะร้อนมากยิ่งขึ้น.
ค. เพราะจะทำให้เครื่องยนต์ชำรุด.
ง. เพราะจะทำให้หม้อน้ำเป็นสนิมมากยิ่งขึ้น
102. ข้อใดเป็นการตรวจเช็กและบำรุงรักษาอุปกรณ์รถยนต์ที่ไม่ถูกต้อง
ก. เติมน้ำฉีดกระจกด้วยน้ำสะอาดผสมน้ำยาล้างจานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการล้างสิ่งสกปรก.
ข. เติมน้ำมันเครื่องโดยเติมให้อยู่ระดับบนเสมอ.
ค. ควรใช้น้ำกลั่นเติมลงในแบตเตอรี่ทุกครั้ง.
ง. ควรตรวจสอบการรัดตรึงของหัวขั้วแบตเตอรี่ให้มีสภาพพร้อมใช้งานเสมอ
103. การเติมน้ำกลั่นควรให้อยู่ระดับใดของแบตเตอรี่
ก. ให้อยู่ระหว่างขีดที่กำหนด.
ข. เติมให้อยู่ระดับขีดต่ำกว่าที่กำหนดเล็กน้อย.
ค. เติมให้อยู่ระดับสูงกว่าที่กำหนดเล็กน้อย.
ง. เติมจนล้นแล้วปิดฝา
104. หากท่านใช้ก๊าชธรรมชาติ CNG จะมีผลต่อเครื่องยนต์อย่างไร
ก. ไม่มีผลต่อเครื่องยนต์.
ข. เครื่องยนต์สึกหรอเร็วกว่าการใช้น้ำมัน.
ค. เครื่องยนต์จะเย็นกว่าปกติ.
ง. อายุการใช้งานหัวเทียนมากกว่าการใช้น้ำมัน
105. การตรวจเช็กรอยรั่วซึมระบบเชื้อเพลิงท่านควรปฏิบัติอย่างไร
ก. ใช้น้ำสบู่เช็ดหาคราบน้ำมัน.
ข. ใช้ไฟฉายหรือไฟแช็กส่องดูถ้ามองไม่เห็น.
ค. ใช้จากการสังเกตและการดมกลิ่น.
ง. ใช้มือหมุนท่อยางหาความบกพร่อง
106. หากท่านเติมน้ำมันผิดประเภทควรปฏิบัติอย่างไร
ก. เติมชนิดที่ถูกเข้าไปเพื่อทำให้เจือจาง.
ข. ขับไปให้หมดถังแล้วเติมชนิดที่ถูกเข้าไป.
ค. ทำการเปลี่ยนถ่ายออกทันที.
ง. ขับไปถ้ามีผลต่อเครื่องยนต์ค่อยถ่ายออก
107. ข้อใดไม่ใช่การตรวจสอบน้ำมันเครื่องยนต์
ก. ดมกลิ่น.
ข. สี.
ค. ปริมาณ.
ง. ความหนืด สิ่งเจือปน
108. การตรวจความตึงของสายพานควรทำอย่างไร
ก. ใช้ไม้เคาะ.
ข. ดูด้วยสายตาก็พอ.
ค. ใช้มือกดที่กึ่งกลางสายพาน.
ง. ถอดสายพานออกเพื่อนำมาวัด
109. การเตรียมความพร้อมของรถยนต์ก่อนการตรวจวัดระดับน้ำมันเครื่องยนต์ ข้อใดถูกต้อง
ก. จอดรถยนต์บนพื้นราบและดับเครื่องยนต์.
ข. จอดรถยนต์บนพื้นลาดเอียงและติดเครื่องยนต์.
ค. จอดรถยนต์ที่ใดก็ได้และติดเครื่องยนต์.
ง. ล้างอัดฉีดรถยนต์ให้สะอาดก่อน
110. ผ้าเบรกจะทำงานเสียดสีกับอุปกรณ์ส่วนใดของรถยนต์
ก. ยางรถยนต์.
ข. ล้อรถยนต์.
ค. กระทะล้อ.
ง. จานเบรก
111. ฝาปิดจุ๊บลมยางมีประโยชน์อย่างไร
ก. ป้องกันลมรั่วซึมและสิ่งสกปรกต่างๆ.
ข. ป้องกันยางแตก.
ค. ป้องกันการขโมยยาง.
ง. ป้องกันไม่ให้ใครมาเติมลม
112. สีของน้ำมันเบรกที่มีคุณภาพคือสีอะไร
ก. สีเหลืองใส.
ข. สีดำข้น.
ค. สีแดง.
ง. สีน้ำตาลเข้ม
113. วิธียืดอายุการใช้งานของผ้าเบรกควรทำอย่างไร
ก. ควรกะระยะในการหยุดรถและเบรกอย่างนุ่มนวล.
ข. ควรเบรกแบบกะชั้นชิด.
ค. ควรเบรกและหมุนพวงมาลัยไปทางซ้ายและขวาเล็กน้อย.
ง. ควรใช้เบรกมือและเบรกเท้าพร้อมกันเมื่อต้องการหยุดรถ
114. เพื่อความปลอดภัยในการใช้รถควรตรวจวัดระดับน้ำมันเครื่องยนต์อย่างน้อยที่สุด
ก. สัปดาห์ละ 1 ครั้ง.
ข. เดือนละ 2 ครั้ง.
ค. เดือนละ 1 ครั้ง.
ง. สองเดือน 1 ครั้ง
115. การตรวจสอบระดับน้ำมันเครื่องในเครื่องยนต์ ควรตรวจสอบเมื่อใด
ก. หลังดับเครื่องยนต์ทันที.
ข. ขณะที่เครื่องยนต์ทำงาน.
ค. หลังดับเครื่องยนต์อย่างน้อย 10 นาที.
ง. ขณะที่จอดรถบนเนิน
116. การตรวจเช็กแบตเตอรี่แบบง่ายๆ ว่ามีไฟปกติหรือไม่ กระทำได้อย่างไร
ก. บีบแตรและฟังเสียงว่าปกติหรือเบาลง.
ข. ออกรถ 2-3 เมตรแล้วทดสอบเบรก.
ค. เหยียบคลัตช์และเข้าเกียร์ให้ครบ.
ง. หมุนพวงมาลัยไปด้านซ้ายและขวา
117. การเติมน้ำกลั่นแบตเตอรี่ควรเติมให้ท่วมแผ่นธาตุประมาณเท่าไร
ก. 1 นิ้ว.
ข. 2 นิ้ว.
ค. 3 นิ้ว.
ง. 4 นิ้ว
118. ไดสตาร์ททำหน้าที่อะไร
ก. ทำให้หมุนพวงมาลัยได้ดี.
ข. ทำให้เครื่องยนต์ติด.
ค. ทำให้ระบบเบรกทำงานดีขึ้น.
ง. ทำให้แอร์ในรถเย็นขึ้น
119. ถ้าจะเติมน้ำในถังพักหม้อน้ำไม่ควรเติมน้ำชนิดใด
ก. น้ำบาดาล.
ข. น้ำฝน.
ค. น้ำกลั่น.
ง. น้ำประปา
120. หม้อน้ำซึมสังเกตุจากสิ่งใดได้บ้าง
ก. เร่งเครื่องยนต์ไม่ขึ้น.
ข. เข้าเกียร์ไม่ได้ตามปกติรู้สึกติดขัดเวลาปรับเกียร์.
ค. รอบเครื่องยนต์จะสูงขึ้นมากกว่าปกติ.
ง. สังเกตคราบน้ำยาหล่อเย็นบริเวณจุดที่ซึม
121. เบรกมือไม่ควรใช้ในสถานการณ์ใด
ก. ใช้หยุดรถบนทางลาดชัน.
ข. ใช้เมื่อหยุดรถขณะติดไฟแดง.
ค. ใช้จอดรถบนทางลาดชัน.
ง. ใช้เมื่อขับรถลงทางลาดชัน
122. ข้อใดคือวิธีการสังเกตรอยรั่วซึมของน้ำมันหล่อลื่นเครื่องยนต์
ก. สังเกตที่พื้นที่รถจอด และตามรอยต่อ หรือข้อต่อเครื่องยนต์.
ข. สังเกตที่อาการเสียงดังของเครื่องยนต์.
ค. สังเกตได้จากการดมกลิ่นน้ำมันหล่อลื่นเครื่องยนต์.
ง. สังเกตจากความร้อนที่ขึ้นสูงของเครื่องยนต์
123. คุณสมบัติของน้ำมันเบรกคือข้อใด
ก. ของเหลวที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการถ่ายทอดกำลังจากแป้นเบรก.
ข. น้ำมันหล่อลื่นที่มีจุดเดือดต่ำ.
ค. สารเคมีที่ใช้ไล่ความชื้น.
ง. น้ำมันหล่อลื่นที่ระเหยได้ง่าย
124. การตรวจสอบลมยางที่ถูกต้องจะต้องทำเมื่อใด
ก. เมื่อยางล้อรถมีอุณหภูมิต่ำ.
ข. หลังจากที่ขับขี่ติดต่อมาหลายชั่วโมง.
ค. เมื่อยางล้อรถมีอุณหภูมิสูง.
ง. หลังจากที่ขับขี่ด้วยความเร็วสูง
125. ผู้ขับขี่ควรใช้สัญญาณไฟฉุกเฉินเมื่อใด
ก. เมื่อมีหมอก.ฝน ฝุ่น ควัน ในทางเดินรถ.
ข. เมื่อขับรถผ่านทางร่วมทางแยก.
ค. เมื่อจะกลับรถหรือเปลี่ยนช่องทางเดินรถ.
ง. เมื่อรถเสียหรือเกิดอุบัติเหตุ
126. การเปลี่ยนขนาดยางเล็กเกินไปจะเกิดผลเสียอย่างไร
ก. ทำให้กินน้ำมันมากกว่าเดิม.
ข. พวงมาลัยหนักขณะใช้ความเร็วต่ำ.
ค. ยางจะเสียดสีกับตัวถังรถ.
ง. ความสามารถในการรับน้ำหนักลดน้อยลง

http://www.thaitestonline.com


ข้อสอบใบขับขี่ 2557 พร้อมเฉลย ,แนวข้อสอบใบขับขี่รถยนต์ 50 ข้อ,ข้อสอบใบขับขี่พร้อมเฉลย,เฉลย ข้อสอบ ใบขับขี่ รถยนต์ 2557 ,แบบข้อสอบใบขับขี่,ทดลองสอบใบขับขี่ 2557,ข้อสอบใบขับขี่ พร้อมเฉลย 2557,สอบใบขับขี่รถจักรยานยนต์ ,แนวข้อสอบใบขับขี่รถจักรยานยนต์ 2557 ,ข้อสอบใบขับขี่รถยนต์2557 50ข้อ,สอบข้อเขียนใบขับขี่ 2557 ,ข้อสอบ ใบขับขี่ รถยนต์ 2557 พร้อม เฉลย,แนวข้อสอบใบขับขี่ 2557 รถยนต์ ,ข้อสอบใบขับขี่ จักรยานยนต์ 2557 ,ข้อสอบใบขับขี่ ,เฉลยข้อสอบใบขับขี่ ,สอบข้อเขียนใบขับขี่ ,ข้อสอบใบขับขี่ออนไลน์ ,ข้อสอบใบขับขี่รถจักรยานยนต์ ,แนวข้อสอบใบขับขี่ ,เฉลยข้อสอบทำใบขับขี่ปี2557,ข้อสอบใบขับขี่รถยนต์ ,แนวข้อสอบใบขับขี่รถยนต์ ,แนวข้อสอบทำใบขับขี่รถยนต์,ทดสอบใบขับขี่รถยนต์ ,ข้อสอบใบขับขี่ ,ข้อสอบใบขับขี่จักรยานยนต์ 50 ข้อ,ข้อสอบใบขับขี่ ,สอบข้อเขียนรถยนต์