Pages - Menu

เว็บเพื่อนบ้าน

วันจันทร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

การขอเปลี่ยนชนิด หรือประเภทใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถ


1หลักฐานประกอบคำขอ
ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอเช่นเดียวกับการขอรับใบอนุญาตใหม่ พร้อมด้วยใบอนุญาตฉบับเดิมหรือใบแทน
กรณีใบอนุญาตฉบับเดิมสูญหาย ให้นำหลักฐานการรับแจ้งความจากสถานีตำรวจมาเป็นหลักฐาน

2
ขั้นตอนการดำเนินการ
2.1 กรณีขอเปลี่ยนชนิดของใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถให้สูงขึ้นกว่าเดิม
(1) ต้องเข้ารับการศึกษาและทดสอบข้อเขียนเฉพาะวิชาที่ยังขาด ให้ครบตามหลักสูตรการศึกษาที่กำหนดไว้
(2) เข้ารับการทดสอบขับรถตามชนิดของใบอนุญาตที่ขอเปลี่ยน
2.2 กรณีขอเปลี่ยนประเภทของใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถ จากส่วนบุคคลเป็นทุกประเภท จะต้องตรวจสอบประวัติก่อนว่าไม่เคยได้รับโทษจำคุก หรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายให้จำคุก เว้นแต่โทษสำหรับความผิดอันได้กระทำโดยประมาท ที่มิใช่เกี่ยวกับการใช้รถในการกระทำความผิด หรือความผิดลหุโทษหรือได้พ้นโทษมาแล้วเกินสามปี
2.3 กรณีขอเปลี่ยนชนิดของใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถให้สูงขึ้นกว่าเดิม พร้อมทั้งขอเปลี่ยนประเภทของใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถ จากส่วนบุคคลเป็นทุกประเภท ต้องดำเนินการตามข้อ 2.1 และ 2.2
หมายเหตุ ปัจจุบันกรมการขนส่งทางบก ได้อำนวยความสะดวกในการให้บริการประชาชน ในการดำเนินการเกี่ยวกับใบอนุญาตเป็นผู้ประจำรถ ซึ่งการดำเนินการดังกล่าว สามารถดำเนินการได้ดังนี้
1. การออกใบอนุญาต
2. การต่ออายุใบอนุญาต
3. การเปลี่ยนชนิด หรือเปลี่ยนประเภทใบอนุญาต
4. การแก้ไขรายการในใบอนุญาต
5. การออกใบแทนใบอนุญาต

การขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถ


1หลักฐานประกอบคำขอ
1.1 ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนหรือภาพถ่ายใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว หรือภาพถ่ายหนังสือเดินทาง หรือภาพถ่ายหนังสือสำคัญประจำตัวอย่างอื่น
1.2 สำเนาหรือภาพถ่ายทะเบียนบ้าน (กรณีที่อยู่ไม่ตรงกับที่อยู่ในทะเบียนราษฎร์) หรือเอกสารแสดงถิ่นที่อยู่
1.3 รูปถ่ายครึ่งตัว หน้าตรง ไม่สวมหมวกและแว่นตาดำ ขนาด 1 นิ้ว ซึ่งถ่ายไว้ไม่เกิน 6 เดือน จำนวน 2 รูป ในกรณีการขอใบอนุญาตแบบกระดาษ ส่วยการขอใบอนุญาตแบบพลาสติกไม่ต้องใช้
1.4 ใบรับรองแพทย์ ออกก่อนวันยื่นคำขอไม่เกิน 1 เดือน

2
ขั้นตอนการดำเนินการ
2.1 เข้ารับการทดสอบสมรรถภาพของร่างกาย ดังต่อไปนี้
(1) ทดสอบปฏิกิริยา
(2) ทดสอบสายตา
2.2 เข้ารับการศึกษาอบรม ดังต่อไปนี้
(1) ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก และกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ 30 นาที 
(2) ความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการขับรถอย่างปลอดภัย 30 นาที 
(3) ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก กฎหมายแพ่งและกฎหมายอาญา 30 นาที 
(4) ความรู้เกี่ยวกับหน้าที่ผู้ขับรถและการบำรุงรักษารถ 30 นาที 
(5) ความรู้เกี่ยวกับมนุษยสัมพันธ์และมารยาทในการขับรถ 30 นาที 
(6) ความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพพลานามัย 30 นาที 
(7) หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ขับรถ 30 นาที 
(8) หัวใจของการบริการทางการขนส่ง 30 นาที 
(9) การตรวจความพร้อมของรถก่อนและหลังการใช้งาน 30 นาที 
(10) ความรู้เกี่ยวกับการขับรถลากจูง และการขับรถลากจูงอย่างปลอดภัย 30 นาที
(11) ความรู้เกี่ยวกับวัตถุอันตราย (เฉพาะใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถ ชนิดที่ 4) 6 ชั่วโมง 
(12) ความรู้เกี่ยวกับรถบรรทุกวัตถุอันตราย และความรู้เกี่ยวกับหลักการบรรทุกวัตถุอันตราย 6 ชั่วโมง
2.3 เข้ารับการทดสอบข้อเขียน ดังนี้
(1) ผู้ขอรับใบอนุญาตชนิดที่ 1 หรือชนิดที่ 2 สอบข้อเขียนจำนวน 60 - 45 ข้อ
(2) ผู้ขอรับใบอนุญาตชนิดที่ 3 สอบข้อเขียนจำนวน 30 ข้อ
(3) ผู้ขอรับใบอนุญาตชนิดที่ 4 ทดสอบข้อเขียนเช่นเดียวกับ (2) และสอบข้อเขียนวิชาความรู้ เกี่ยวกับวัตถุอันตรายเพิ่มอีก จำนวน 30 ข้อ ผู้รับการทดสอบจะต้องได้คะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 จึงจะถือว่าผ่านการทดสอบ
2.4 เข้ารับการทดสอบขับรถ ดังนี้
(1) ผู้ขอรับใบอนุญาตชนิดที่ 1 หรือชนิดที่ 2 สอบขับรถตามชนิดใบอนุญาต
(2) ผู้ขอรับใบอนุญาตชนิดที่ 3 และชนิดที่ 4 สอบขับรถลากจูง พร้อมรถพ่วง หรือรถกึ่งพ่วง โดยทำการทดสอบขับรถ ไม่น้อยกว่า 3 ท่า ใน 6 ท่า ดังต่อไปนี้
ท่าที่ 1 การเดินหน้าและหยุดรถเทียบทางเท้า
ท่าที่ 2 การขับรถเดินหน้าและถอยหลังในทางตรง
ท่าที่ 3 การขับรถถอยหลังเข้าจอดและออกจากช่องว่างด้านซ้าย
ท่าที่ 4 การหยุดรถและออกรถบนทางลาด
ท่าที่ 5 การกลับรถ
ท่าที่ 6 การขับรถเดินหน้าเข้าจอดในช่องที่เป็นมุมฉาก
2.5 เมื่อผู้ขอรับใบอนุญาตผ่านการทดสอบสมรรถภาพร่างกาย ทดสอบข้อเขียนและทดสอบขับรถแล้ว
(1) สำหรับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถ ประเภทส่วนบุคคล ชำระค่าธรรมเนียมและรับใบอนุญาตได้
(2) สำหรับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถ ประเภททุกประเภท ทางราชการจะทำการตรวจสอบ ประวัติอาชญากรว่า ไม่เป็นผู้เคยได้รับโทษจำคุกหรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย ให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดอันได้กระทำโดยประมาทที่มิใช่เกี่ยวกับการใช้รถในการกระทำความผิด หรือเป็นความผิดลหุโทษหรือได้พ้นโทษมาแล้วเกินสามปี จึงจะชำระค่าธรรมเนียม และรับใบอนุญาตได้

ประเภทใบขับขี่ และค่าธรรมเนียมใบขับขี่ประเภทต่างๆ

ประเภทใบขับขี่ เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่ต้องรู้สำหรับผู้ที่ต้องการสอบใบขับขี่ เนื่องจากใบขับขี่แต่ละประเภทนั้น จะอนุญาตให้สามารถขับขี่รถได้เพียงแค่ที่ระบุไว้ในใบขับขี่ ซึ่งหมายความว่า ถ้าขับขี่รถที่ไม่ได้ระบุหรือไม่ได้อนุญาตให้ขับขี่ ก็จะถือว่าเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย ดังนั้นหากต้องการทำใบขับขี่ ก็ต้องรู้ก่อนว่าใบขับขี่ที่ทำนั้น มีขอบข่ายหรืออนุญาตให้ขับขี่รถประเภทไหนได้บ้าง

ประเภทใบขับขี่

ประเภทใบขับขี่

ใบขับขี่นั้นถูกแบ่งออกตามลักษณะของการใช้เป็น 2 ประเภทหลักๆ คือ 1) ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถประเภทส่วนบุคคล และ 2) ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถประเภททุกประเภท ซึ่งทั้ง 2 ประเภท มีสิ่งที่เหมือนและแตกต่างกันอยู่พอสมควรดังนี้
  1. ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถประเภทส่วนบุคคล อนุญาตให้สามารถขับขี่เพื่อขนส่งส่วนบุคคล หรือใช้เพื่อโดยสารส่วนตัว และยังสามารถขับขี่ขนส่งเพื่อการค้าหรือธุรกิจส่วนตัวได้ด้วย โดยในการขนส่งนั้นจะถูกจำกัดน้ำหนักอยู่ที่ 1,600 กิโลกรัม และต้องเป็นการขนส่งที่ไม่ใช่การรับจ้างด้วย
  2. ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถประเภททุกประเภท ใบอนุญาตประเภทนี้จะอนุญาตให้สามารถขับขี่เพื่อขนส่งได้ทุกประเภท กล่าวคือ จะสามารถใช้เพื่อรับจ้างหรือประกอบธุรกิจการขนส่งได้ อาทิ การขนส่งคน การขนส่งสิ่งของ เป็นต้น
สำหรับสิ่งที่เหมือนและแตกต่างกันของใบขับขี่ทั้ง 2 ประเภท ก็คือ ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถประเภททุกประเภท สามารถใช้ขับขี่เพื่อขนส่งส่วนบุคคลหรือรับจ้างก็ได้ ส่วนใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถประเภทส่วนบุคคล จะไม่สามารถใช้ขับขี่เพื่อการรับจ้างได้

ค่าธรรมเนียมใบขับขี่

จากหัวข้อที่กล่าวก่อนหน้านี้ เป็นการแบ่งประเภทใบขับขี่ตามลักษณะการใช้งานออกเป็น 2 ประเภท แต่ใบขับขี่ที่ใช้จริงก็ยังถูกแบ่งออกเป็นชนิดต่างๆ ตามลักษณะการใช้และลักษณะของรถอีกด้วย ซึ่งในหัวข้อนี้จะขอกล่าวโดยรวมเกี่ยวกับชนิดและค่าธรรมเนียมใบขับขี่ไปพร้อมๆ กันเลย ซึ่งแบ่งใบขับขี่ออกเป็น 11 ชนิด ดังตาราง


ชนิดของใบขับขี่อายุ (ปี)อัตราค่าธรรมเนียม (บาท)
1ใบอนุญาตขับรถชนิดชั่วคราว
- ใบอนุญาตขับรถยนต์ชั่วคราว
- ใบอนุญาตขับรถยนต์สามล้อชั่วคราว
- ใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลชั่วคราว
2100
50
50
2ใบอนุญาตขับรถยนต์ส่วนบุคคล5500
3ใบอนุญาตขับรถยนต์สามล้อส่วนบุคคล5250
4ใบอนุญาตขับรถยนต์สาธารณะ3300
5ใบอนุญาตขับรถยนต์สามล้อสาธารณะ3150
6ใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล5250
7ใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์สาธารณะ3150
8ใบอนุญาตขับรถบดถนน5250
9ใบอนุญาตขับรถแทร็คเตอร์5250
10ใบอนุญาตขับรถชนิดอื่นๆ นอกจากข้อ 1-95100
11ใบอนุญาตขับรถตามความตกลงระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นภาคี (ใบอนุญาตขับรถระหว่างประเทศ)1500

หมายเหตุ : ดังตารางด้านบนจะเห็นได้ว่า ประเภทใบขับขี่ ไม่ได้มีแค่เฉพาะรถยนต์เท่านั้นและค่าธรรมเนียมใบขับขี่แต่ละประเภทก็แตกต่างกันไป

ที่มา http://drivepermit.blogspot.com/2015/12/type-of-driver-license.html 

คุณสมบัติของผู้ขอรับใบอนุญาตปฎิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถ

1. มีสัญชาติไทย
2. มีความรู้ความสามารถตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
3. ไม่เป็นผู้มีร่างกายพิการจนเป็นที่เห็นได้ว่า ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ด้วยความเหมาะสม
4. ไม่เป็นผู้วิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
5. ไม่เป็นผู้มีโรคติดต่ออันเป็นที่รังเกียจ
6. ไม่เป็นผู้ติดสุรายาเมาหรือยาเสพย์ติดให้โทษ
7. ไม่เป็นผู้มีใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจำรถประเภท หรือชนิดเดียวกันกับที่ได้รับอนุญาตอยู่แล้ว
8. ไม่เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ ประจำรถเว้นแต่การเพิกถอนใบอนุญาตนั้นพ้นกำหนดสามปีแล้ว นับแต่วันที่มีคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
9. ไม่เป็นผู้เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดหรือคำสั่งที่ชอบด้วย กฎหมายให้จำคุก เว้นแต่โทษ สำหรับความผิดอันได้กระทำโดยประมาทที่มิใช่เกี่ยวกับการใช้รถในการกระทำผิดหรือเป็นความผิดลหุโทษหรือได้พ้นโทษมาแล้วเกินสามปี
10. ไม่เป็นผู้เคยถูกควบคุมตัวเพราะมีพฤติการณ์เป็นภัยต่อสังคมหรือเป็นอันธพาล เว้นแต่ได้พ้นจากการควบคุมตัวมาแล้วเกินหนึ่งปี

ที่มา http://amnatcharoen.dlt.go.th/web/index.php?option=com_content&view=article&id=106&Itemid=157

การดำเนินการเกี่ยวกับใบอนุญาตผู้ประจำรถตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.2522


ใบอนุญาตผู้ประจำรถ แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่
1. ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถ
2. ใบอนุญาตเป็นผู้เก็บค่าโดยสาร
3. ใบอนุญาตเป็นนายตรวจ
4. ใบอนุญาตเป็นผู้บริการ

ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถ ใบอนุญาตเป็นนายตรวจ และใบอนุญาตเป็นผู้บริการ ใช้เป็นใบอนุญาตเป็นผู้เก็บค่าโดยสารได้

ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถ แบ่งออกเป็น 4 ชนิด และ 2 ประเภท ดังนี้
ชนิดที่ 1 ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถสำหรับขับรถบรรทุกที่น้ำหนักรถ และน้ำหนักบรรทุกรวมกันไม่เกินสามพันห้าร้อยกิโลกรัม หรือสำหรับขับรถโดยสาร ที่ใช้ขนส่งผู้โดยสารไม่เกินยี่สิบคน
ชนิดที่ 2 ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถสำหรับขับรถบรรทุกที่มีน้ำหนักรถ และน้ำหนักบรรทุกรวมกันเกินกว่าสามพันห้าร้อย กิโลกรัม หรือสำหรับขับรถโดยสารที่ใช้ขนส่งผู้โดยสารเกินกว่ายี่สิบคน
ชนิดที่ 3 ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถสำหรับขับรถบรรทุกหรือรถโดยสาร ซึ่งโดยสภาพใช้สำหรับลากจูงรถอื่น หรือล้อเลื่อน ที่บรรทุกสิ่งใด ๆ บนล้อเลื่อนนั้น
ชนิดที่ 4 ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถสำหรับขับรถที่ใช้ขนส่งวัตถุอันตรายตามประเภทหรือชนิด และลักษณะการบรรทุก ตามที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ใบอนุญาตขับรถชนิดที่สอง ชนิดที่สาม และชนิดที่สี่ ใช้เป็นใบอนุญาตขับรถชนิดที่หนึ่งได้

ใบอนุญาตขับรถชนิดที่สาม และชนิดที่สี่ ใช้เป็นใบอนุญาตขับรถชนิดที่หนึ่งและชนิดที่สองได้

ใบอนุญาตขับรถชนิดที่สี่ ใช้เป็นใบอนุญาตขับรถชนิดที่หนึ่ง ชนิดที่สอง และชนิดที่สามได้

ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถแต่ละชนิด แบ่งตามประเภทการขนส่งของรถออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
ประเภทส่วนบุคคล สำหรับขับรถที่ใช้ในการขนส่งส่วนบุคคล (รถที่มีแผ่นป้ายทะเบียนรถพื้นสีขาว ตัวเลขและตัวอักษรสีดำ)
ประเภททุกประเภท สำหรับขับรถได้ทุกประเภทการขนส่ง (รถที่มีแผ่นป้ายทะเบียนรถพื้น
สีขาว ตัวเลข และตัวอักษรสีดำ และรถที่มีแผ่นป้ายทะเบียนรถพื้นสีเหลือง ตัวเลขและตัวอักษรสีดำ)

***ข้อควรจำ***
ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถทุกประเภท ตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก สามารถใช้แทนใบอนุญาตขับรถยนต์ส่วนบุคคลละใบอนุญาตขับรถสาธารณะตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ได้ ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถส่วนบุคคล ตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก สามารถใช้แทนใบอนุญาตขับรถยนต์ส่วนบุคคล ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ได้

อายุของผู้ขอรับใบอนุญาตผู้ประจำรถ
1. ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถ
ส่วนบุคคล ชนิดที่ 1 ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี
ส่วนบุคคล ชนิดที่ 2 และชนิดที่ 3 ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปี
ส่วนบุคคล ชนิดที่ 4 ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปี
ทุกประเภท ชนิดที่ 1 ชนิดที่ 2 และชนิดที่ 3 ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 22 ปี
ทุกประเภท ชนิดที่ 4 ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปี
2. ใบอนุญาตเป็นผู้เก็บค่าโดยสาร ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี
3. ใบอนุญาตเป็นนายตรวจ ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปี
4. ใบอนุญาตเป็นผู้บริการ ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 15


ที่มา http://amnatcharoen.dlt.go.th/web/index.php?option=com_content&view=article&id=106&Itemid=157